วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551


นายกฯบอกขอใช้เวที2สภาฯ ถกทางออกวิกฤติการเมือง


นายกฯขอใช้ 2 สภาฯหาทาออกวิกฤติการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ บอกเปิดโอกาสสมาชิกแสดงความคิดเห็นเต็มที่!



นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวในรายการ"สนทนาประสาสมัคร"ว่า ในช่วงบ่ายโมงครึ่งวันนี้ตนจะไปฟังและจะชี้แจงในสภา และขอบคุณนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมา

"การประชุมรัฐสภาจะเป็นเวทีที่พูดจาได้ชัดเจน แสดงความเห็น ใครเข้าข้างใครยังไง ได้เลย แปลว่าบ้านเมืองนี้ฝ่ายนั้นมีโอกาสชนะใช่ไหม ทำไมคนเป็นนักการเมืองไม่มีความคิด ที่เจ็บช้ำคือบรรดาสหภาพแรงงาน รถไฟ ขสมก. การบินไทย มันอะไรนักหนา จะทำลายบ้านเมืองด้วยวิธีนี้"

นอกจากนี้ นายสมัครยังได้ชี้แจงเหตุปะทะกันที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล และมีภาพข่าวโดยระบุว่า ตำรวจใช้แก๊สน้ำตากับกลุ่มผู้ชุมนุมว่า ตำรวจได้ยืนยันแล้วไม่ได้เป็คนลงมือ ไอ้บ้าที่ไหนไม่รู้ หรืออาจเป็นมือที่สาม ได้ตั้งชุดตรวจสอบดูว่าเป็นใคร แล้วสื่อมวลชนเสนอข่าวนี้ วิจารณญาณอยู่ที่ไหน ยังสอบสวนอยู่แต่ข่าวออกไปทั่วโลกแล้ว ขณะที่บ้านเมืองได้รับการโหวตว่าเป็นเมืองที่น่าเที่ยวที่สุดในโลก ตนทำหน้าที่ของตัวเองตรงนี้ แต่คนกลุ่มหนึ่งคอยจ้องหาเหตุ ซึ่งตนเองไม่ได้กลัวแต่เกรงว่าบ้านเมืองเสียหาย

โดย คม ชัด ลึก
วัน อาทิตย์ ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 11:17 น.


วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551


สมัคร เลิกสลายม็อบทำเนียบหวั่นบานปลาย



สมัคร เลิกสลายการชุมนุมที่ทำเนียบ ใช้กระบวนการกฎหมายจัดการ ผวาบานปลาย รับสั่งเคลียร์พื้นที่ แต่ต้องยกเลิกเกรงอันตราย ย้ายจัดงานไปสวนอัมพรฯ

นายสมัคร สุนทรเวช

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ยืนยันว่าจะไม่มีการสลายการชุมนุม แม้จะถือว่าคำสั่งศาลแพ่งที่ให้พันธมิตรฯออกจากทำเนียบฯจะเป็นการให้ดาบมาถือไว้ ครั้งแรกคิดว่าจะเคลียร์พื้นที่

"แต่เมื่อไตร่ตรองแล้วเห็นว่าจะเกิดอันตรายได้ เพราะม็อบมีการสร้างแนวป้องกัน จึงจะให้แกนนำที่ถูกออกหมายจับมารายงานตัว จะไม่มีการสลายการชุมนุมเพื่อไม่ให้เกิดการสปาร์กอะไรขึ้นมา"

ถามว่ารัฐบาลจะเสียความชอบธรรมหรือไม่ เพราะไม่สามารถเข้าไปบริหารงานในทำเนียบฯได้ นายสมัคร กล่าวว่า ไม่มีปัญหา เพราะได้บ้างเสียบ้าง รัฐบาลไม่ได้เสียสถานะทางการเมือง ส่วนการจัดงาน 116 วันจากวันแม่ถึงวันพ่อที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 สค.ก็จะย้ายไปจัดที่สวนอัมพรฯแทน และเมื่อถามต่อว่า คิดถึงทำเนียบฯหรือไม่ นายสมัคร ก็ได้ถามกลับว่า ทำไมถามอย่างนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฯไม่มีท่าทีที่เคร่งเครียด แต่กลับตอบคำถามผู้สื่อข่าวอย่างใจเย็น

ทั้งนี้มีรายงานข่าวจากแหล่งข่าวใกล้ชิดนายกฯ ระบุว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาของนายกฯในเรื่อง กลุ่มพันธมิตรฯยึดทำเนียบฯจะใช้แนวทางตามกระบวนการยุติธรรม เช่น การฟ้องร้องต่อศาล เป็นต้น แต่จะยังไม่มีการใช้ความรุนแรงใดๆ

โดย กรุงเทพธุรกิจ
วัน พฤหัสบดี ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 11:45 น







วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ศาลสั่งพธม.ออกจากทำเนียบ จำลองระบุห้าทุ่มตร.เข้าสลาย





ศาลแพ่งมีคำสั่งให้พันธมิตรฯออกจากทำเนียบมีผลทันที ด้านจำลองระบุห้าทุ่มตร.เข้าสลายศาลแพ่งนัดฟังคำสั่งให้พธม.ออกจากทำเนียบคืนนี้




ล่าสุดเมื่อเวลา 22.00น.องค์คณะผู้พิพากษาศาลแพ่ง ได้ออกนั่งบังลังค์ และมีคำสั่งให้จำเลยทั้ง 6 กับพวก พาผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบรัฐบาล ให้รื้อถอนเวทีปราศรัย และให้ขนย้ายสิ่งกีดขวางที่อยู่ในทำเนียบ ออกจากพื้นที่ รวมทั้งให้เปิดพื้นที่ถนนพิษณุโลก และถนนราชดำเนิน โดยคำสั่งดังกล่าว ให้มีผลทันที




เมื่อเวลา 21.45 น. พล.ต.จำลอง กล่าวบนเวทีว่า มีการระดมกำลังตำรวจกว่า 5000 นายเพื่อสลายการชุมนุมในเวลา 23.00 น. แต่ไม่ต้องกลัว เพราะพันธมิตรมีเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ปักหลักชุมนุมในทำเนียบฯ หากจะแพ้ก็ต้องแพ้ในทำเนียบฯ อย่างไรก็ตาม พล.ต.จำลองได้กำชับอีกครั้งว่าหากแกนนำทั้ง 9 คนถูกจับ กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ต้องตามไป แต่ให้ปักหลักชุมนุมต่อไปอีก 2-3 วัน เชื่อว่าพันธมิตรจะได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน




นักวิชาการเชื่อจับ 5 แกนนำเกิดจลาจลแน่ เหตุคุมไม่ได้ วิพากษ์บุกยึดทำเนียบฯ - สถานที่ราชการ ไม่เหมาะ แต่ขอรัฐอย่าใช้ความรุนแรงปล่อยศาลตัดสิน เผยกระทบเศรษฐกิจระยะสั้น ขณะที่อาจารย์ มธ.ชี้พันธมิตรฯเสียความชอบธรรมจากการเคลื่อนไหว




รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงษธร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการเข้าไปยึดหน่วยงานราชการต่างๆเพราะนี่คือสมบัติของประเทศ งานราชการก็เป็นงานที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เอง กลุ่มพันธมิตรฯก้าวพลาด เสียเปรียบ ภาพติดลบอย่างมาก ในสายตามของคนทั่วไป เป็นการพลาดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการชุมนุมมากว่า 90 วัน ซึ่งถ้ามองเป็นเกม เกมนี้อาจจะจบลงได้ ดังนั้นอยู่ที่รัฐบาลจะใช้กลยุทธ์อย่างไรในการจัดการ ซึ่งหากใช้กลยุทธ์ผิดก็จะกลายเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กลุ่มพันธมิตรฯอีกครั้งหนึ่งได้ ส่วนพันธมิตรฯหากยังยืนหยัดต่อสู้ก็ต้องจัดกระบวนท่าใหม่สร้างความศรัทธากลับมาให้ได้ “นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามครรลองของประชาธิปไตย ก็ขอให้ทุกฝ่ายใช้ความอดทน ใช้เหตุผล อย่าให้เกิดการปฏิบัติรัฐประหาร เกิดการนองเลือด อาจจะมีความลำบากบ้าง เหนื่อยล้า แต่เชื่อว่าจะผ่านไปได้ด้วยดี เพราะเรามีประสบการณ์แล้วในเหตุการณ์ 16 ตุลา 19 ตุลา ที่สำคัญทุกฝ่ายต้องช่วยกันในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนชั้นกลางในเมืองและชนชั้นกลางในชนบทให้หมดไปจากสังคมไทย ไม่เช่นนั้นปัญหาความขัดแย้งรุนแรงไม่มีทางที่จะหมดไปในสังคมไทยได้ ” รศ.ดร.นิพนธ์ กล่าว
อ่านบทความต่อได้ที่ http://news.sanook.com/politic/politic_300312.php

เราเป็นประเทศประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน
แต่การใช้ประชาธิปไตย
ถูกต้องขนาดไหน ?

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ตำรวจขีดเส้นตาย ม็อบ ถอนตัว ภายใน 18.00 น.





ผบ.ตร. ฟันธงออกหมายจับ 5 แกนนำพันธมิตรฯ ฐานความผิดขัดต่อความมั่นคงประเทศ พร้อมขีดเส้นตาย18.00 น.วันนี้(๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๑)ให้ม็อบถอนตัว ด้านพันธมิตรฯเคลื่อนพลจากเอ็นบีทีกลับทำเนียบฯ


พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รอง โฆษก สตช. กล่าวว่า ได้เตรียมกำลังไว้พร้อมสำหรับการควบคุมสถานการณ์ และขอยืนยันว่าจะไม่ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม โดยจะใช้วิธีเจราจาด้วยสันติวิธี เพราะตำรวจเชื่อว่าแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมแต่ละคนมีความรู้ มีการการศึกษา และไม่ทำอะไรให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง ส่วนการบุกยึดสถานี NBT นั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรสวจสามารถควบคุมตัวได้ทั้งหมด 80 คน เป็นชาย 78 คน หญิง 2 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนดำเนินคดี โดยได้แจ้ง 4 ข้อหา คือ


1.บุกรถุกสถานที่ราชการ

2.ทำให้เสียทรัพย์

3.มีอาวุธไว้ในครอบครอง

4.มียาเสพติดไว้ในครอบครอง เนื่องจากพบใบกระท่อมจำนวนมาก ซึ่งความผิดลักษณะดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท



"การบุกของกลุ่มผู้ชุมนุมผมเชื่อว่ามีการสั่งการเชื่อมโยงกันมาจากบุคคลภายนอกเข้ามาแทรกแซงในการปิดสถานีซึ่งเข้าข่ายการล้มร้างรัฐบาล โดยตำรวจยังควบคุมสถานการณ์ไว้อย่างต่อเนื่อง ถ้าพบการกระทำความผิดก็จะจับกุมทันที พร้อมกันนี้ได้จัดเตรียมกำลังประจำจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทำเนียบหรือสถานที่อื่นๆ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าไปอีก พร้อมกันนี้ได้ส่งการให้ฝ่ายสืบสวนบันทึกภาย ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวไว้เป็นหลักฐานเพื่อดำเนินคดีต่อไป" พล.ต.ต.สุรพล กล่าว


อ่านข่าวต่อได้ที่ http://news.sanook.com/politic/politic_299984.php

ความสงบสุขของประเทศเราจะกลับมาได้ยังไง


ตราบใด ที่พวกเรา


ยังแตกความสามัคคีกัน


คุณคิดว่าสิ่งที่ ฝ่ายพันธมิตร ทำ เป็นทางออกที่ดีสำหรับทุกคนแล้วหรือ


หรือจะมีทางออกอื่นอีกไหมสำหรับ พวกเรา ชาวไทยทุกคน


วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ทักษิณ ลาออกจากบอร์ด อ้างทำแมนซิตี้เสื่อม


"ทักษิณ" เสนอตัวลาออกจากบอร์ดแมนซิตี้
อ้างขายหน้าที่ทำให้สโมสรเสื่อมเสีย

(23 สิงหาคม) ประธานบริหารสโมสร แมนเชสเตอร์ซิตี้ แกร์รี่ คุ๊ก แถลงวันนี้ว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของสโมสรฯ ได้เสนอตัวลาออกจากคณะกรรมการบริหาร หลังลี้ภัยออกจากประเทศไทย เพื่อหลบหนีการถูกดำเนินคดีจากข้อหาคอรัปชั่น โดยเจ้าตัวให้เหตุผลว่า รู้สึกอับอาย ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่สโมสรและพรีเมียร์ลีก และเขาไม่ได้ตั้งใจที่จะทำให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้

คุ๊กบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เปรยว่า หากต้องการให้เขาลาออกจากผู้อำนวยการบอร์ด เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของพรีเมียร์ลีกเขาก็ยินดี ตราบใดที่ไม่ทำให้อะไรเปลี่ยนแปลง ซึ่งขณะนี้ทางสโมสรกำลังดูอยู่ว่าจะดำเนินการในทางใดได้บ้าง และพ.ต.ท.ทักษิณได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงด้วยว่า ให้อยู่ให้ห่างการแข่งขันที่ทีมแมนซิตี้ เตะในบ้านตัวเอง

อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ซึ่งพาครอบครัวเดินทางมาอังกฤษเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา อาจไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ และความเหมาะสมของผู้ที่เข้ามาครอบครองสโมสรฟุตบอลพรีเมียร์ลีกครั้งใหม่ ซึ่งพรีเมียร์ลีกอาจมีการพิจารณาอีกครั้ง หลังพิจารณาไปเมื่อปีแล้วหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กำลังเผชิญกับ 4 คดีความในศาลฎีกาแผนกคดีนักการเมืองที่จะมีการตัดสินคดีแรกในวันที่ 17 กันยายนนี้

และจากการที่ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกศาลอายัดไว้ ทำให้เขาต้องชะลอแผนการต่างๆ เกี่ยวกับสโมสร แต่ คุ๊ก ก็ยังยืนยันอย่างแน่วแน่ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บอร์ดก็จะไม่ยอมปล่อยหุ้น ข้างมากไป ซึ่งตอนนี้บอร์ดกำลังหารือกันในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการปรับโครงสร้างบอร์ด การขายหุ้น บางส่วนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้กับผู้ที่เหมาะสมที่จะเข้ามากำจัดแรงกดดันบางอย่างออกไป

นอกจากนี้สโมสรยังต้องการเซนต์สัญญาซื้อนักเตะระดับซุปเปอร์คนหนึ่ง เพื่อเสริมหน้าตาของสโมสร ในตลาดต่างๆ อย่างจีนและอินเดีย หลังความพยายามซื้อตัวโรนัลนิญโญ ไม่เป็นผล

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : http://hilight.kapook.com/view/28022

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อดีตนายกฯ ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกหลังจากเกิดรัฐประหารในประเทศไทย

บทสัมภาษณ์ต่อไปนี้ เป็นข้อความที่ผู้สื่อข่าว 'แดน ริเวอร์ส'

จากซีเอ็นเอ็น (ประเทศสิงคโปร์)

สัมภาษณ์อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

โดยคำถามแรกคือ เรื่องข้อกล่าวหาว่าทักษิณมีส่วนเกี่ยวพัน

กับการก่อเหตุระเบิดในคืนส่งท้ายปีใหม่ในกรุงเทพ

ขอบคุณคลิปวิดิโอ : http://www.youtube.com/watch?v=K3nVdqgqXbA

โพลเชื่อทักษิณมีความผิด จึงหนีคดีไปต่างประเทศ

สวนดุสิตโพลสำรวจพบกลุ่มตัวอย่างเชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำผิด จริงจึงหนีไปอยู่อังกฤษ เห็นควรให้กลับมาสู้คดีให้ถึงที่สุด ส่วนการเมืองมองจะยังเหมือนเดิม
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (17 ส.ค.) ว่า สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ จำนวน 2,312 คน เกี่ยวกับความรู้สึกของคนไทย กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ลี้ภัยไปประเทศอังกฤษ ผลปรากฏว่า ร้อยละ 34.55 เห็นว่า การหนีไปอยู่ต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า มีความผิดจริง ร้อยละ 21.58 เห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการลี้ภัย เพราะถือเป็นการหนีปัญหา และร้อยละ 20.67 เห็นว่า ควรดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจังและให้ความเป็นธรรมกับทุกคนส่วนสิ่งที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลดำเนินการมากที่สุดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวนั้น ร้อยละ 38.94 เห็นว่า ให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการอย่างอิสระ และไม่มีการควบคุมจากรัฐบาล ร้อยละ 29.44 เห็นว่า ให้ทุกอย่างควรดำเนินการตามกฎหมายอย่างถูกต้อง และร้อยละ 18.01 เห็นว่า รัฐบาลควรเจรจากับรัฐบาลอังกฤษให้ส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาประเทศไทย


สำหรับคำถามสิ่งที่ประชาชนอยากให้ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ดำเนินการมากที่สุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร้อยละ 43.01 เห็นว่า หยุดการชุมนุมประท้วง ร้อยละ 29.11 เห็นว่า ควรแสดงท่าทีอย่างพอประมาณ และร้อยละ 14.00 เห็นว่า ควรปล่อยให้การดำเนินคดีต่างๆ เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมนอกจากนั้น ผลการสำรวจครั้งนี้ ยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 51.58 เชื่อว่า การเมืองไทยหลัง พ.ต.ท.ทักษิณลี้ภัยจะเหมือนเดิม เพราะการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ร้อยละ 26.33 เชื่อว่า การเมืองไทยจะดีขึ้น และร้อยละ 22.09 เชื่อว่า การเมืองไทยจะแย่ลง ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานถึงสิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงอดีตนายกฯ มากที่สุด พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 43.44 เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรกลับมาสู้คดีให้ถึงที่สุด

(โดย ไทยรัฐ วัน อาทิตย์ ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551 14:40 น)

ขอบคุณข่าวและภาพประกอบ :
http://news.sanook.com/politic/politic_297635.php

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ล้อเลียนการเมือง

เมื่อมีข้อดี ย่อมมีข้อเสีย
ถึงมีข้อเสีย ก็ย่อมมีข้อดีเช่นกัน
ไม่มีใครดีไปทุกด้านหรอก คุณว่าจริงไหม ?

ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.padusa.org/AN/data/0002.html
10 เหตุผล !!
ระบอบทักษิณสิ้นความชอบธรรม
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
[ 22 มี.ค. 49, 11:28 น. ]



1. ขายประเทศ โกงภาษี หลบเลี่ยงกฎหมาย กรณีการขายกลุ่มบริษัทชิน

การขายบริษัทชินคอร์ปซึ่งครอบครองดาวเทียมจำนวน 4 ดวง สถานีโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และบริษัทสายการบินต้นทุนต่ำ มูลค่า 73,000 ล้านบาท แก่กองทุนเทมาเส็กซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยรัฐบาลสิงคโปร์ เป็นการขายกิจการสัมปทานของชาติที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลลุแก่อำนาจโดยแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการขายหุ้นให้ต่างชาติได้เกิน 25% เพียงวันเดียวก่อนทำการขาย เห็นดีเห็นงามกับการตั้งบริษัทบังหน้า เพื่อให้ต่างชาติถือครองหุ้นส่วนใหญ่โดยผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย อีกทั้งหาช่องโหว่ไม่ต้องเสียภาษีการซื้อขายแม้แต่สักบาทเดียว ผู้นำประเทศกลายเป็นแบบอย่างให้เกิดพฤติกรรมโกงภาษี และเปิดช่องให้ต่างชาติเข้ามายึดครองกิจการสำคัญๆของประเทศ


2. เอาชีวิตของเกษตรกร การเข้าถึงยาและได้รับการรักษาของคนไทยทุกคน แลกกับผลประโยชน์ของบริษัทครอบครัวและกลุ่มธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลกรณีการทำเอฟทีเอ

การลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับจีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ สร้างผลกระทบต่อเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้เมืองหนาว และเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อโคนมรวมกันกว่า 5 ล้านคน การเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐจะส่งผลกระทบรุนแรงกว่านั้นหลายเท่า เพราะต้องเปิดเสรีการลงทุน กิจการขนาดเล็กของคนไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ พันธุ์พืชถูกจดสิทธิบัตร ทรัพยากรธรรมชาติถูกครอบครอง ระบบหลักประกันสุขภาพทุกระบบได้รับผลกระทบ และประชาชนไทยต้องซื้อยาในราคาแพง นักลงทุนต่างชาติได้สิทธิฟ้องร้องรัฐ ยอมรับกลไกอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแทนการขึ้นศาลไทย แลกกับผลประโยชน์ของกลุ่มกิจการโทรคมนาคมของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลุ่มบริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งล้วนแล้วแต่ใกล้ชิดกับรัฐบาล ทั้งนี้ไม่นับการแก้ไขกฎหมายภายในหลายฉบับเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ


3. การแทรกแซงองค์กรอิสระ และการทำลายกลไกการตรวจสอบ

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ใช้อำนาจทางการเมืองและอำนาจเงินครอบงำวุฒิสภา แทรกแซงกระบวนการสรรหา การได้มา และการทำงานขององค์กรอิสระต่างๆ เช่น คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กลไกและกระบวนการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญถูกทำลายลงแทบหมดสิ้น แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่อาจเป็นที่พึ่งได้ ดังที่ได้ปฏิเสธที่จะพิจารณากรณีการซุกหุ้นภาค 2 ของนายกรัฐมนตรี จากการเสนอของสมาชิกวุฒิสภา 27 คนเมื่อเร็วๆนี้ การขาดกลไกการตรวจสอบทำให้อำนาจการบริหารอยู่ในมือของผู้นำอย่างเบ็ดเสร็จ เกิดการคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร และเปิดทางให้ตระกูลชินวัตรและบริวารสืบทอดอำนาจในการบริหารประเทศเยี่ยงทรราช


4. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อประโยชน์พวกพ้อง และบริษัทต่างชาติ

เมื่อมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยการเปิดขายหุ้นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.)นั้น หุ้นทั้งหมดถูกขายเกลี้ยงในเวลาเพียง 1 นาที 17 วินาที หุ้นส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของนักการเมืองพรรคไทยรักไทยและเครือญาติ มีการใช้อำนาจรัฐขยายสัดส่วนการถือหุ้นของเอกชนจาก 25 % เป็น 49% และกำหนดอัตราราคาแกสที่ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตในราคาที่สูง ดันให้ผลกำไรของปตท.ในปี 2548 สูงถึงกว่า 80,000 ล้านบาท ผลประโยชน์ดังกล่าวถูกแจกจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นและบริษัทต่างชาติ รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ยังเดินหน้าแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โดยการขายเลหลังราคาถูกในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ประเทศชาติเสียหายมากกว่า 3.3 ล้านล้านบาท อีกทั้งยังคงกุมการผูกขาดและไม่มีกลไกการกำกับดูแลคุ้มครองผู้บริโภค ประชาชนต้องเสียค่าไฟฟ้าในราคาแพงเพียงเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มทุนในรัฐบาลและบริษัทต่างชาติในสิงคโปร์ ทั้งนี้ไม่นับแผนการแปรรูปองค์การเภสัชกรรม องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เป็นต้น


5. การยึดครองและควบคุมสื่อ กรณีไอทีวี มติชน และคุกคามการทำงานของสื่อมวลชน นักกิจกรรมทางสังคม

บริษัทของครอบครัวนายกรัฐมนตรีได้เข้าซื้อกิจการของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีซึ่งเป็นดอกผลการต่อสู้ของประชาชนในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ใช้อำนาจรัฐลดภาษีสัมปทาน เปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้เพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิง กลุ่มธุรกิจที่ใกล้ชิดยังได้พยายามเข้าไปยึดครองกิจการของหนังสือพิมพ์มติชน และเข้าไปถือครองในกิจการสื่อต่างๆ มีการใช้งบประมาณของรัฐและงบประชาสัมพันธ์ของธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเพื่อควบคุมสื่อมวลชน สื่อมวลชนและนักกิจกรรมที่หาญกล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายนับพันล้านบาท เสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนไทยภายใต้ระบอบทักษิณตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา



6. การละเมิดสิทธิมนุษยชน การหายตัวไปของทนายสมชาย และความรุนแรงของปัญหาสามจังหวัดภาคใต้

นับตั้งแต่ปี 2477-2546 มีผู้ที่ถูกตัดสินลงโทษให้ประหารชีวิตเพียง 323 เท่านั้น แต่ช่วงเวลาเพียง 3 เดือน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2545 ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มงวดนั้นมีผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับคดียาเสพติดถูกฆ่าตายกว่า 2,000 ราย การใช้การปราบปรามแบบเหวี่ยงแห และการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีการหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร การกระทำการอย่างทารุณกับผู้ชุมนุมในกรณีตากใบ รวมทั้งการส่งทหารไทยไปยังอิรักตามคำร้องขอของรัฐบาลสหรัฐฯ คือสาเหตุสำคัญของการลุกลามของปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ที่เกิดจากระบอบทักษิณ



7. การตั้งรัฐอิสระ เปิดเสรีโดยลดทอนกฎหมายภายใน และทำลายการปกครองของท้องถิ่น

กรณีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษพร้อมๆกับการทำเอฟทีเอและแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเร่งรีบ รัฐบาลชุดนี้ยังได้ผลักดันร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้อำนาจฝ่ายบริหารในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น ให้อำนาจนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนในประเทศอย่างไร้ขอบเขต ทั้งด้านอุตสาหกรรม บริการ หรือแม้แต่กิจการบ่อนกาสิโน เพิกถอนสภาพที่สาธารณสมบัติเช่น เขตธรณีสงฆ์ ป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ รวบอำนาจการบริหารจากองค์กรท้องถิ่น เสมือนการจัดตั้งรัฐอิสระที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายใดๆของประเทศไทย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดในเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว


8. ความล้มเหลวของการปฎิรูปการศึกษา ปัญหาการโอนย้ายการศึกษาไปสู่องค์กรส่วนท้องถิ่น

การปฏิรูปการศึกษาไม่มีความคืบหน้าใดๆ มาตรฐานการศึกษาในทุกระดับตกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การเปิดเสรีการศึกษาจะทำให้การศึกษากลายเป็นการค้า เป็นการทำลายเป้าหมายของการศึกษาและกีดกั้นประชาชนยากจนออกไปจากระบบการศึกษาในท้ายที่สุด ปัญหาการโอนย้ายการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือเครื่องชี้ความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษา โดยการใช้อำนาจรัฐมากกว่ากระบวนการมีส่วนร่วม และสะท้อนให้เห็นว่ามิได้มีการสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นทั้งต่อสถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอด 5 ปีที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ในอำนาจ


9. ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ช่องว่างคนรวยคนจน ความเป็นจริงและผลกระทบการแจกจ่ายเงินไปสู่ชนบท

ป้าหมายของรัฐบาลคือการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของตลาดหุ้นโดยไม่ได้ดำเนินการใดๆ ที่เป็นการลดช่องว่างความแตกต่างระหว่างคนร่ำรวยกับคนยากจน หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 103,940 บาท/ครัวเรือน (พ.ศ. 2547) สถิติผู้บริโภคที่เป็นหนี้บัตรเครดิตถือจำนวนบัตรเครดิตสูงสุดเพิ่มขึ้นจาก 16 ใบเป็น 30 ใบ เงินที่รัฐบาลแจกจ่ายเงินไปให้ชนบทในรูปกองทุนหมู่บ้านเป็นการนำเงินที่ควรจะเป็นของท้องถิ่นกลับไปให้ท้องถิ่นแค่เพียงเศษเงิน งานวิจัยพบว่ามีการนำเงินจากกองทุนหมู่บ้านไปซื้อโทรศัพท์มือถือ 400 เครื่องต่อหนึ่งหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เป็นเงินถึง 480,0000 บาท/ปี(ไม่นับค่าซื้อเครื่อง) ต้องเอาเงินนอกระบบมาใช้หนี้กองทุน เอาเงินกองทุนไปใช้หนี้นอกระบบ กลายเป็นวงจรอุบาทว์ของหนี้อมตะ ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยคนจนเพิ่มมากขึ้นทุกทีจนอยู่ในระดับเดียวกันกับเม็กซิโก โคลัมเบีย และอาร์เจนตินา ปัญหาทั้งหมดรอวันปะทุเป็นความขัดแย้งที่รุนแรง


10.ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาโครงสร้างการจัดการทรัพยากร กรณี พ.ร.บ.ป่าชุมชน และการปฏิรูปที่ดินเพื่อคนยากจน

รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิได้ดำเนินการใดๆที่เป็นการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ข้อเรียกร้องของประชาชนในการปฏิรูปการจัดการทรัพยากร เช่น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน การบริหารน้ำโดยท้องถิ่น และการผลักดันให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจนถูกขัดขวางโดยรัฐบาล ในทางตรงข้ามรัฐบาลยังได้สนับสนุนส่งเสริมให้มีการลงทุนที่ทำลายวิถีชีวิตของชุมชน เช่น โครงการเหมืองแร่โปแตซ โครงการท่อส่งก๊าซโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ผู้นำชาวบ้านที่ต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรในท้องถิ่นถูกฆ่ามากกว่า 20 คน รวมทั้งพระสงฆ์นักอนุรักษ์


การหยุดยั้งระบอบทักษิณ เป็นก้าวสำคัญในการสร้างประชาธิปไตย

ที่ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นธรรม

และการจัดสรรทรัพยาการอย่างเท่าเทียม

เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน !!




พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 3 มีนาคม 2549
การไม่สนับสนุนสินค้าและบริการของครอบครัว
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
และกิจการสำคัญๆ ของสิงคโปร์ในประเทศไทย

โทรศัพท์
1. เลิกใช้โทรศัพท์มือถือ GSM , 1-2-Call พร้อมบริการอื่นๆ ในเครือ AIS
ธนาคาร & การเงิน
2. ไม่ใช้บริการธนาคารยูโอบี และธนาคารดีบีเอส และไม่ใช้บริการบริษัทแคปปิตอลโอเค
อสังหาริมทรัพย์
3. ไม่ซื้ออสังหาริมทรัพย์บริษัทเอสซีเอสเสท บริษัทริเวอร์ไซด์โฮมดิเวลลอปเม็นท์
และบริษัททีซีซีดีเวลลอปเม็นต์ หรือโครงการอื่นๆ ที่มีบริษัทแคปปิตอลแลนด์ถือหุ้น
เบียร์
4. ไม่ดื่มไทเกอร์เบียร์ และไฮเนเก้น
อินเตอร์เน็ต
5. เลิกใช้อินเตอร์เน็ตล็อกซ์อินโฟ ไม่ดู iPTV
ช้อปปิ้ง
6. ช้อปปิ้งย่านสยาม อย่าเผลอเข้าร้านถ่ายรูป She @ Mood (Shoot At Me)
และ ร้านกาแฟ Cafeinn และไม่จำเป็นต้องซื้อมือถือแพงๆ จากสมาร์ทโฟน
ทีวี
7. ให้กำลังใจนักข่าวและผู้ประกาศข่าวไอทีวี (และทีวีช่องอื่นๆ)
ต่อสู้กับผู้บริหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการเสนอข่าวสารอย่างซื่อสัตย์ต่อประชาชน และรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
เดินทางและท่องเที่ยว
8. งดเดินทางท่องเที่ยวสิงคโปร์ เที่ยวเมืองไทยซื้อของไทยสบายใจกว่า
9. ไม่ใช้บริการสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ และสายการบินแอร์เอเชีย
เลือกใช้บริการการบินไทย และสายการบินแบบประหยัดอื่นๆ

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551

รวมภาพ "ทักษิณ" ช็อปปิ้งกับครอบครัว ที่อังกฤษ

กับฮริยาบทสบาย ๆ ในอังกฤษ



ภาพพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินช็อปปิ้งในย่านกิลด์ฟอร์ด ในอังกฤษ พร้อมครอบครัว
และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขาฯคนสนิท (ขวามือสุด)
หลังไม่ยอมเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อสู้คดีคอรัปชั่น

เดินจูงมือลูกสาวทั้งสอง พร้อมยิ้มให้ช่างภาพถ่ายภาพ



ทางเข้าบ้านคฤหาสน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในเขตเวยบริดจ์
บริเวณทางใต้ของกรุงลอนดอน

ช่วงนี้ประเทศชาติวุ่นวาย เพราะอะไรกัน ?

อ้างอิง : http://hilight.kapook.com/view/27649

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเมือง "แบบขำขำ"

หนูน้อยคนหนึ่งถามพ่อว่า "พ่อฮับ การเมืองคืออะไร ฮับ"

คุณพ่อใจดีตอบว่า "พ่ออธิบายง่ายๆ อย่างนี้ ดีกว่า คือ พ่อเป็นคนหาเลี้ยงครอบครัว
หนูต้องเรียกพ่อว่า ทุนนิยม
ส่วนแม่เป็นคนจัดการ เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ >ก็ต้องเรียกแม่ ว่ารัฐบาล
เราสองคนมีหน้าที่ดูแลความต้องการของลูก เพราะฉะนั้น เราจะเรียกลูกว่า ประชาชน
ส่วนพี่เลี้ยงของหนูเรามองว่าเธอเป็นชนชั้น ผู้ชั้นแรงงาน
สำหรับน้องชายของลูก เราจะเรียกเขาว่า อนาคต เอาละ ลองเก็บไปคิดดูว่าหนูเขาใจหรือเปล่า

คืนนั้นหนูน้อยเข้านอนพลางคิดถึงคำพูดของคนเป็นพ่อ **
กลางดึกหนูน้อยได้ยินเสียงน้องร้องจ้า ย่องเข้าไปดูเห็นอึกองโตเต็ม ผ้าอ้อม

หนูน้อยเดินไปห้องพ่อแม่ แต่กลับเจอมามี้นอนกรนคร่อกฟี้ เดินไปห้องพี่เลี้ยง
ปรากฏว่าประตูติด ล็อก เขย่งมองในรูกุญแจ
ก็เห็นภาพบิดากำลังเล่นจ้ำจี้กับพี่เลี้ยงเข้าเต็ม ตา หนูน้อยเลยล้มเลิกความพยายาม
แล้วกลับไปนอนคลุมโปงตามเดิม

***เช้าวันต่อมาหนูน้อยเดินไปหาพ่อบอกเสียงขรึมว่า "พ่อครับ ตอนนี้ ผมเข้าใจคอนเซ็ปต์การเมืองแล้วละ ครับ"
" เหรอ ลูก ไหนบอกพ่อซิ ลูกคิดว่าการเมืองคือ อะไร" คุณพ่อตัว ดีซักไซ้

คุณลูกตอบฉะฉาน "การเมืองก็เป็น เรื่องประมาณว่า...
ขณะที่ทุนนิยมกำลังกดขี่ผู้ชนชั้นใช้แรงงาน รัฐบาลก็หลับคุดคู้ไม่รู้ไม่เห็นด้าน
ประชาชนก็ถูกละเลยไม่ได้รับความสนใจ ส่วนอนาคตก็จมอยู่ในกองขี้ไงครับ
".........^----------^"

(แหล่งที่มาจาก FW) http://variety.teenee.com/foodforbrain/9997.html

แล้วคุณล่ะ คิดว่า...การเมืองคืออะไร ?

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันที่รอยยิ้มจางหาย

* รวมภาพ ครอบครัว ชินวัตร วันที่ รอยยิ้ม จางหาย *




รวบรวมภาพการเดินทางมาฟังคำพิพากษาคดีเลี่ยงภาษีชินคอร์ป
หลังศาลอาญาสั่งจำคุก 3 ปี "พจมาน"
สีหน้าหมอง แววตาเศร้า ของตระกูล "ชินวัตร" แม้ว เครียดจัด !

ผู้มีบารมีกับสนามการเมือง






อำนาจทางการเมือง เป็นอำนาจที่หลายคนปรารถนา แต่คนจำนวนมากที่ลงสนามการเมืองแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดเงื่อนไขที่จำเป็นหลายประการ


ในปัจจุบันผู้มีบารมี(ไม่ใช่ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ) ในแวดวงต่างๆ จำนวนมากไม่ว่าจะเป็นแวดวงวิชาการ ทหาร และธุรกิจ ได้แสดงท่าทีออกมาว่าจะเข้าสู่สนามทางการเมือง


ใครก็ตามที่จะลงสนามเลือกตั้งในสังคมไทยนั้น จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง พรรคการเมืองจึงเป็นกลไกหลักในการนำพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปถึงฟากฝั่งที่เขาต้องการ ทางเลือกของผู้มีบารมีที่จะลงสนามการเมืองมีสองทางเลือกหลัก ทางเลือกแรกคือเข้าไปเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่เคยมีบทบาทในรัฐสภามาก่อน พรรคการเมืองในสังคมไทยมีจำนวนมาก แต่พรรคที่ถือได้ว่าเป็นพรรคเก่าแก่และยืนหยัดในสนามทางการเมืองมายาวนานและเคยมีบทบาทในรัฐสภามาก่อน คือ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย
กรณีพรรคประชาธิปัตย์นั้น ผู้มาใหม่ต้องดำเนินการไปตามระบบและขั้นตอนของพรรค ดังนั้นการเรียนลัดที่จะไปดำรงตำแหน่งสำคัญภายในพรรคหรือเป็นหัวหน้าพรรคจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
กรณีพรรคชาติไทย ผู้ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงคือหัวหน้าพรรคในปัจจุบัน หากผู้เข้ามาใหม่มีอำนาจบารมีจากแวดวงอื่น และต้องการตำแหน่งสำคัญภายในพรรคก็อาจทำได้โดยการเจรจากับหัวหน้าพรรค แต่จะถึงขั้นที่ให้หัวหน้าพรรคในปัจจุบันมอบตำแหน่งให้เลยนั้น ก็ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ยกเว้นจะมีเหตุการณ์ที่พิเศษมากจริงๆเกิดขึ้น


ทางเลือกที่สองสำหรับผู้มีบารมีนอกวงการการเมือง ที่ต้องการอำนาจทางการเมือง คือ การตั้งพรรคการเมืองเอง ซึ่งอาจจะตั้งพรรคใหม่เลยหรือซื้อหัวของพรรคที่มีคนตั้งไว้แล้วก็ได้ ดังที่ นักการทหาร นักวิชาการและนักธุรกิจอื่นๆ ได้ดำเนินการไปในอดีต


การตั้งพรรคการเมืองเองนั้นตั้งไม่ยาก แต่เมื่อตั้งแล้วจะทำให้พรรคการเมืองนั้นประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนในสนามการเมืองนั้น เป็นเรื่องที่ยากเป็นอย่างยิ่ง มีหลายพรรคที่จัดตั้งขึ้นมา โดยผู้มีบารมีนอกวงการทางการเมือง ปรากฏขึ้นในสนามการเมือง มีช่วงเวลาที่เจิดจรัสเพียงสั้นๆ และสิ้นสลายไปในที่สุด เช่น พรรคราษฎร พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคไทยรักไทย และพรรคมหาชนเป็นต้น
เงื่อนไขที่ทำให้พรรคการเมืองมีบทบาทในสนามการเมือง ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงสั้นก็ตาม มีเงื่อนไขหลัก 3 ประการคือ ภาพลักษณ์ของหัวหน้าพรรคและแกนนำ ฐานจากสมาชิกพรรคที่เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และทุนในการดำเนินงานการเมือง


หัวหน้าพรรคของพรรคที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ต้องเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของสังคม มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่ง ระหว่างภาพลักษณ์ของการเป็นนักบริหารที่เป็นมืออาชีพ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล หรือภาพลักษณ์ของการเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์โปร่งใส มีคุณธรรม หากไม่มีภาพลักษณ์ใดโดดเด่น ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างบทบาทของพรรค


นอกจากหัวหน้าพรรคที่ต้องมีภาพลักษณ์โดดเด่นแล้ว แกนนำคนสำคัญของพรรคก็ต้องมีภาพลักษณ์ด้านบวกที่ใกล้เคียงกับหัวหน้าพรรค ซึ่งจะช่วยหนุนเสริมซึ่งกันและกัน หากหัวหน้าพรรคโดดเด่นแต่แกนนำไม่โดดเด่น ก็ทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคในภาพรวมด้อยลงไป


ฐานจากสมาชิกพรรคที่เป็นอดีต ส.ส. หรือ อาจเรียกว่าฐานมวลชนก็ได้ เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งในการหนุนเสริมบทบาทของพรรคที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ นักการเมืองที่เป็นอดีตส.ส. หรือนักเลือกตั้งมืออาชีพ เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของพรรคการเมือง เพราะบุคคลเหล่านี้มีฐานมวลชนของตนเองในพื้นที่ เมื่อพวกเขาลงสมัครรับเลือกตั้ง โอกาสที่จะได้รับเลือกตั้งจะมีสูง หากได้บุคคลเหล่านี้เป็นสมาชิกพรรค จะทำให้พรรคได้จำนวน ส.ส. ในสนามเลือกตั้งเพิ่มขึ้น หากพรรคไม่มีกลุ่มบุคคลเหล่านี้เป็นฐานในการเลือกตั้ง มีแต่ผู้สมัครหน้าใหม่ โอกาสที่พรรคจะสูญหายจากเวทีการเมืองก็มีสูงยิ่ง ดังที่เกิดขึ้นกับ พรรคถิ่นไทยและหลายๆพรรคในอดีต


ทุนในการดำเนินงาน พรรคการเมืองไทยต้องใช้ทุนจำนวนมหาศาลในการเลือกตั้งหากผู้มีบารมีนอกวงการการเมือง มีทุนมากก็ใช้ทุนตัวเองในการตั้งพรรคและเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรค ตลอดจนใช้ในการสร้างความผูกพันกับบรรดา ส.ส.ในพรรคหลังการเลือกตั้ง


การใช้ทุนตัวเอง จะทำให้ผู้มีบารมีมีอำนาจในพรรคสูงและอาจผูกขาดอำนาจไว้กับตัวคนเดียว ดังที่เกิดขึ้นกับบางพรรคที่ผ่านมาเร็วๆนี้ แต่หากผู้มีบารมีนอกวงการการเมืองไม่มีทุนเป็นของตนเอง ก็อาจใช้บารมีที่มีอยู่ระดมทุนจากกลุ่มทุนต่างๆเพื่อใช้ในการจัดตั้งและดำเนินงานของพรรคได้ แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ หากพรรคเกิดได้อำนาจทางการเมืองขึ้นมา การดำเนินนโยบายใดๆอาจต้องฟังเสียงจากผู้อุปการคุณเหล่านั้น ทำให้สูญเสียความเป็นอิสระในการตัดสินใจไประดับหนึ่ง และยังจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวง เพราะไม่ทราบว่าเมื่อไรที่บุคคลเหล่านั้นจะถอนการสนับสนุน เมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น พรรคก็ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างแน่นอน


ผู้มีบารมีคนใด ไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงการทหาร วิชาการ หรือธุรกิจ พึงไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะลงสู่สนามทางการเมือง ว่าตนเองมีเงื่อนไขทั้งสามพร้อมหรือยัง มิฉะนั้นอาจต้องมาสำนึกเสียใจภายหลัง



ทางเลือกที่สองสำหรับผู้มีบารมีนอกวงการการเมือง ที่ต้องการอำนาจทางการเมือง คือ การตั้งพรรคการเมืองเอง ซึ่งอาจจะตั้งพรรคใหม่เลยหรือซื้อหัวของพรรคที่มีคนตั้งไว้แล้วก็ได้ ดังที่ นักการทหาร นักวิชาการและนักธุรกิจอื่นๆ ได้ดำเนินการไปในอดีต


การตั้งพรรคการเมืองเองนั้นตั้งไม่ยาก แต่เมื่อตั้งแล้วจะทำให้พรรคการเมืองนั้นประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนในสนามการเมืองนั้น เป็นเรื่องที่ยากเป็นอย่างยิ่ง มีหลายพรรคที่จัดตั้งขึ้นมา โดยผู้มีบารมีนอกวงการทางการเมือง ปรากฏขึ้นในสนามการเมือง มีช่วงเวลาที่เจิดจรัสเพียงสั้นๆ และสิ้นสลายไปในที่สุด เช่น พรรคราษฎร พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคไทยรักไทย และพรรคมหาชนเป็นต้น


เงื่อนไขที่ทำให้พรรคการเมืองมีบทบาทในสนามการเมือง ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงสั้นก็ตาม มีเงื่อนไขหลัก 3 ประการคือ ภาพลักษณ์ของหัวหน้าพรรคและแกนนำ ฐานจากสมาชิกพรรคที่เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และทุนในการดำเนินงานการเมือง


หัวหน้าพรรคของพรรคที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ต้องเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของสังคม มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่ง ระหว่างภาพลักษณ์ของการเป็นนักบริหารที่เป็นมืออาชีพ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล หรือภาพลักษณ์ของการเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์โปร่งใส มีคุณธรรม หากไม่มีภาพลักษณ์ใดโดดเด่น ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างบทบาทของพรรค


นอกจากหัวหน้าพรรคที่ต้องมีภาพลักษณ์โดดเด่นแล้ว แกนนำคนสำคัญของพรรคก็ต้องมีภาพลักษณ์ด้านบวกที่ใกล้เคียงกับหัวหน้าพรรค ซึ่งจะช่วยหนุนเสริมซึ่งกันและกัน หากหัวหน้าพรรคโดดเด่นแต่แกนนำไม่โดดเด่น ก็ทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคในภาพรวมด้อยลงไป


ฐานจากสมาชิกพรรคที่เป็นอดีต ส.ส. หรือ อาจเรียกว่าฐานมวลชนก็ได้ เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งในการหนุนเสริมบทบาทของพรรคที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ นักการเมืองที่เป็นอดีตส.ส. หรือนักเลือกตั้งมืออาชีพ เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของพรรคการเมือง เพราะบุคคลเหล่านี้มีฐานมวลชนของตนเองในพื้นที่ เมื่อพวกเขาลงสมัครรับเลือกตั้ง โอกาสที่จะได้รับเลือกตั้งจะมีสูง หากได้บุคคลเหล่านี้เป็นสมาชิกพรรค จะทำให้พรรคได้จำนวน ส.ส. ในสนามเลือกตั้งเพิ่มขึ้น หากพรรคไม่มีกลุ่มบุคคลเหล่านี้เป็นฐานในการเลือกตั้ง มีแต่ผู้สมัครหน้าใหม่ โอกาสที่พรรคจะสูญหายจากเวทีการเมืองก็มีสูงยิ่ง ดังที่เกิดขึ้นกับ พรรคถิ่นไทยและหลายๆพรรคในอดีต


ทุนในการดำเนินงาน พรรคการเมืองไทยต้องใช้ทุนจำนวนมหาศาลในการเลือกตั้งหากผู้มีบารมีนอกวงการการเมือง มีทุนมากก็ใช้ทุนตัวเองในการตั้งพรรคและเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรค ตลอดจนใช้ในการสร้างความผูกพันกับบรรดา ส.ส.ในพรรคหลังการเลือกตั้ง


การใช้ทุนตัวเอง จะทำให้ผู้มีบารมีมีอำนาจในพรรคสูงและอาจผูกขาดอำนาจไว้กับตัวคนเดียว ดังที่เกิดขึ้นกับบางพรรคที่ผ่านมาเร็วๆนี้ แต่หากผู้มีบารมีนอกวงการการเมืองไม่มีทุนเป็นของตนเอง ก็อาจใช้บารมีที่มีอยู่ระดมทุนจากกลุ่มทุนต่างๆเพื่อใช้ในการจัดตั้งและดำเนินงานของพรรคได้ แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ หากพรรคเกิดได้อำนาจทางการเมืองขึ้นมา การดำเนินนโยบายใดๆอาจต้องฟังเสียงจากผู้อุปการคุณเหล่านั้น ทำให้สูญเสียความเป็นอิสระในการตัดสินใจไประดับหนึ่ง และยังจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวง เพราะไม่ทราบว่าเมื่อไรที่บุคคลเหล่านั้นจะถอนการสนับสนุน เมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น พรรคก็ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างแน่นอน


ผู้มีบารมีคนใด ไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงการทหาร วิชาการ หรือธุรกิจ พึงไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะลงสู่สนามทางการเมือง ว่าตนเองมีเงื่อนไขทั้งสามพร้อมหรือยัง มิฉะนั้นอาจต้องมาสำนึกเสียใจภายหลัง



อนาคตการเมืองไทยท่ามกลางความขัดแย้ง
ในท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองระยะนี้ แม้ว่าด้านหนึ่งจะเป็นการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีการต่อสู้ในเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองด้วยเช่นเดียวกัน อุดมการณ์ที่ต่อสู้ช่วงชิงในสนามการเมืองมี 5 อุดมการณ์หลักคือ


1) อนุรักษ์นิยมใหม่(Neo-Conservative) มีความเชื่อว่า โลกาภิวัฒน์นำมาซึ่งความมั่งคั่ง กำแพงภาษีระหว่างประเทศควรถูกกำจัด เปิดโอกาสให้ทุนไหวเวียนอย่างเสรี และหลักคิดการบริหารธุรกิจภาคเอกชนเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มการเมืองที่มีอุดมการณ์แบบนี้คือกลุ่มทุนใหม่ซึ่งมีทุนโทรคมนาคมเป็นแกนนำ พรรคการเมืองที่กลุ่มผู้บริหารพรรคมีอุดมการณ์นี้คือ อดีตพรรคไทยรักไทย ซึ่งกลายสภาพเป็นพรรคพลังประชาชนในเดือนสิงหาคม 2550 อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีอุดมการณ์เช่นนี้แทรกซึมอยู่แทบทุกพรรคการเมือง แม้ว่าจะมีระดับความมากน้อยและความเข้มข้นในเชิงอุดมการณ์แตกต่างกันบ้าง

2)อุดมการณ์อุปถัมภ์นิยม (Clientelism) เป็นอุดมการณ์หลักที่ครอบงำสังคมการเมืองไทยมาอย่างยาวนาน ในระยะหลังความเข้มข้นของอุดมการณ์นี้ลดลงในกลุ่มชนชั้นกลาง แต่ยังคงมีความเข้มข้นในกลุ่มชนชั้นชาวบ้านและชนชั้นนำทางการเมือง ชนชั้นนำทางการเมืองทั้งระดับชาติและท้องถิ่น อาศัยอุดมการณ์อุปถัมภ์เป็นกลไกในการสร้างเครือข่ายหัวคะแนนและจัดตั้งมวลชนในชนบทให้มาสนับสนุนตนเองเมื่อเกิดกรณีการต่อสู้ทางการเมืองทั้งในเรื่องการเลือกตั้ง และการชุมนุมประท้วง อุดมการณ์นี้แทรกซึมอยู่ทุกพรรคการเมือง ทั้งพรรคใหญ่บ้าง พรรคเล็กบ้าง แต่จะมีมากในพรรคที่ถูกจัดตั้งโดยกลุ่มอดีต ส.ส.ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3)อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมดั้งเดิม(Traditional Conservative) เชื่อในเรื่อง การรักษาสถานภาพเดิมของสังคม เชิดชูความมั่นคงสถาบันหลักของสังคม กลุ่มที่ดำรงอุดมการณ์แบบนี้คือ กลุ่มทุนเก่า เช่น ทุนการเงิน และอุตสาหกรรมหนักบางประเภท กลุ่มข้าราชการส่วนใหญ่ บางครั้งกลุ่มนี้ได้รับการเรียกว่า เป็นกลุ่มอำมาตยาธิปไตย กลุ่มนี้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายชี้นำสังคมไทยมายาวนาน แต่บทบาทเริ่มลดลงเมื่อมีการปฏิรูปการเมืองในปี 2540 และในเวลาต่อมาได้ถูกสั่นคลอนอย่างหนักจากระบอบทักษิณซึ่งนำพาอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมใหม่เข้ามาจัดการภายในระบบราชการ พรรคการเมืองที่มีแนวโน้มยึดถือในอุดมการณ์นี้คือ พรรคชาติไทย และพรรคประชาราช เป็นต้น

4)อุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย(Liberal Democracy) มีความเชื่อพื้นฐานว่า เสรีภาพและความเป็นปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่าของมนุษย์ กลุ่มที่มีแนวคิดเช่นนี้คือกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งประกอบด้วยพ่อค้า นักธุรกิจรายย่อย ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับกลาง พนักงานเอกชนระดับกลาง และผู้ประกอบอาชีพอิสระทั้งหลาย กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นภายหลังปี 2540 และขยายตัวจนกลายเป็นพลังในการต่อต้านระบอบทักษิณ พรรคการเมืองที่อาจถือได้ว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มอุดมการณ์นี้ คือพรรคประชาธิปัตย์

5) อุดมการณ์การประชาสังคมประชาธิปไตย(Civil Society Democracy) มีความเชื่อว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในทุกระดับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับสังคม กลุ่มที่นำอุดมการณ์นี้ไปปฏิบัติการทางการเมืองคือ กลุ่มองค์การพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และนักการเมืองบางกลุ่ม กลุ่มนี้มีความมุ่งหมายที่จะผลักดันให้สังคมเป็นสังคมแห่งการมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเอง และสามารถบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเองได้ ปัจจุบันยังไม่มีพรรคการเมืองใดที่ใช้อุดมการณ์นี้ไปปฏิบัติการทางการเมือง

อนาคตการเมืองไทยในท่ามกลางความขัดแย้ง

จากสภาพการที่เป็นจริงทางสังคมการเมืองดังที่ได้วิเคราะห์มาข้างต้น สามารถสรุปแนวโน้มการเมืองไทยในอนาคตได้ดังนี้

1)การต่อสู้ทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้น ปริมาณกลุ่มและสถาบันของสังคมจะเข้าสู่สนามการต่อสู้ทางการเมืองมากขึ้น และเกิดขึ้นในทุกระดับทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ


2)การเสื่อมศรัทธาต่อสถาบัน ทั้งสถาบันทางการเมือง สถาบันการบริหาร สถาบันองค์การตรวจสอบอิสระ สถาบันทางสังคม การเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันเหล่านี้เกิดมาจากในระยะสี่ถึงห้าปีที่ผ่านมา สถาบันเหล่านี้โดยเฉพาะสถาบันทางการเมือง บริหาร และองค์กรอิสระได้ถูกแทรกแซงและทำลายความเที่ยงธรรมโดยระบอบทักษิณ การรื้อฟื้นศรัทธาขึ้นมาอีกครั้งจึงเป็นภาระที่หนักหน่วงของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในขณะนี้และในระยะต่อไป
สถาบันทางสังคม โดยเฉพาะสถาบันทางศาสนาซึ่งได้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการบรรจุประโยค “ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย” ลงในรัฐธรรมนูญ วิธีการเคลื่อนไหวเรียกร้องของคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งได้สร้างภาพลักษณ์เชิงลบเกิดขึ้นแก่สาธารณชน เพราะมีการกระทำทางสังคมหลายประการของสงฆ์บางส่วนที่สังคมชาวพุทธไม่อาจยอมรับได้
สถาบันที่ประชาชนให้ความเชื่อถือสูงอยู่บ้างก็คือ สถาบันตุลาการซึ่งกลายเป็นเสาหลักในการค้ำยันวิกฤติของสังคมไทยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามก็ยังมีข่าวที่อาจมีการสร้างความเสื่อมเสียแก่สถาบันนี้อยู่บ้าง ด้วยการกระทำของบุคคลบางในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับคดียุบพรรคการเมือง



วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ชงด่วน! กฎหมายไล่ม็อบพ้นถนน จำกัดสิทธิชุมนุม


เราจะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง


ในเมื่อคนไทยยังไม่สามัคคี


หลังจากที่พรรคพลังประชาชนและมวลชนที่ชื่นชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่พอใจกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จัดชุมนุมปิดกั้นทางสาธารณะ และเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลมานาน ในที่สุด นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจเดินเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 63 เพื่อควบคุมการชุมนุมของม็อบโดยตรง


ทั้งนี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญนิติบัญญัติครั้งแรก ในวันที่ 6 สิงหาคมนี้ จะมีร่าง พ.ร.บ.ที่น่าสนใจเข้าสู่การพิจารณา คือ ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ ที่ นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร พรรคพลังประชาชน และคณะ โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลักการเพื่อให้การชุมนุมในที่สาธารณะเป็นไปตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ขณะเดียวกันก็เพื่อป้องกันการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าว ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนเสียหายต่อสาธารณชนทั่วไป จึงต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อจัดระเบียบการชุมนุมดังกล่าว


ด้าน นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตร กล่าวว่า เห็นได้ชัดเจนว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขัดต่อมาตรา 63 โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการทำลายการชุมนุมแบบสงบและสันติ เพราะต่อไปการชุมนุมจะต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐก่อน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปไม่ได้ เพราะคงไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดอนุญาตให้ประชาชนชุมนุมอยู่แล้ว นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า หากร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเมื่อใด รับรองว่ารัฐสภาไทยจะเป็นที่อับอายไปทั่วโลก เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกห้ามการชุมนุมได้ หากประชาชนไม่เดือดร้อนคงไม่มาชุมนุม ดังนั้นการชุมนุมจึงเป็นดัชนีการชี้วัดการทำงานของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลทำงานดีการชุมนุมก็จะมีน้อย แต่ถ้ารัฐบาลทำงานล้มเหลวการชุมนุมก็จะมีมาก "รัฐบาลชุดนี้มองว่าการชุมนุมเป็นภัยต่อรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด ดังนั้น ขอย้ำอีกว่า ถ้ากฎหมายฉบับนี้เข้าสภาเมื่อใดจะเป็นที่อับอายไปทั่วโลก ที่ ส.ส. ไทยเสนอกฎหมายล้าหลังแบบนี้ มากไปกว่านั้นผมคิดว่า การเสนอกฎหมายนี้เพื่อสกัดกั้นการชุมนุมของพันธมิตร ที่พรรคพลังประชาชนทำมาทุกวิถีทาง โดยครั้งนี้จะกลไกในสภาใช้เสียงข้างมากลากไป เพื่อหวังการสลายการชุมนุมของพันธมิตร" นายสุริยะใสกล่าว


ขณะที่ นายสมัคร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการแก้ไขกฎหมาย มาตรา 63 ว่า "นี่คือรัฐธรรมนูญ มาตราที่พันธมิตรกลัว" พร้อมกล่าวถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธโดยไม่มีการสร้างข้อมูลเท็จเอามากล่าวหา ไม่ปลุกระดมประชาชนให้หลงผิด ไม่ใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อ ไม่บังคับและไม่จ้างวานกลุ่มบุคคลใดๆ ให้มาร่วมชุมนุม" อย่างไรก็ตามสำหรับรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 63 ระบุว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยตามอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก"


เข้าไปดูเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ ได้ที่ http://hilight.kapook.com/view/27345