วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผู้มีบารมีกับสนามการเมือง






อำนาจทางการเมือง เป็นอำนาจที่หลายคนปรารถนา แต่คนจำนวนมากที่ลงสนามการเมืองแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดเงื่อนไขที่จำเป็นหลายประการ


ในปัจจุบันผู้มีบารมี(ไม่ใช่ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ) ในแวดวงต่างๆ จำนวนมากไม่ว่าจะเป็นแวดวงวิชาการ ทหาร และธุรกิจ ได้แสดงท่าทีออกมาว่าจะเข้าสู่สนามทางการเมือง


ใครก็ตามที่จะลงสนามเลือกตั้งในสังคมไทยนั้น จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง พรรคการเมืองจึงเป็นกลไกหลักในการนำพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปถึงฟากฝั่งที่เขาต้องการ ทางเลือกของผู้มีบารมีที่จะลงสนามการเมืองมีสองทางเลือกหลัก ทางเลือกแรกคือเข้าไปเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่เคยมีบทบาทในรัฐสภามาก่อน พรรคการเมืองในสังคมไทยมีจำนวนมาก แต่พรรคที่ถือได้ว่าเป็นพรรคเก่าแก่และยืนหยัดในสนามทางการเมืองมายาวนานและเคยมีบทบาทในรัฐสภามาก่อน คือ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย
กรณีพรรคประชาธิปัตย์นั้น ผู้มาใหม่ต้องดำเนินการไปตามระบบและขั้นตอนของพรรค ดังนั้นการเรียนลัดที่จะไปดำรงตำแหน่งสำคัญภายในพรรคหรือเป็นหัวหน้าพรรคจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
กรณีพรรคชาติไทย ผู้ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงคือหัวหน้าพรรคในปัจจุบัน หากผู้เข้ามาใหม่มีอำนาจบารมีจากแวดวงอื่น และต้องการตำแหน่งสำคัญภายในพรรคก็อาจทำได้โดยการเจรจากับหัวหน้าพรรค แต่จะถึงขั้นที่ให้หัวหน้าพรรคในปัจจุบันมอบตำแหน่งให้เลยนั้น ก็ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ยกเว้นจะมีเหตุการณ์ที่พิเศษมากจริงๆเกิดขึ้น


ทางเลือกที่สองสำหรับผู้มีบารมีนอกวงการการเมือง ที่ต้องการอำนาจทางการเมือง คือ การตั้งพรรคการเมืองเอง ซึ่งอาจจะตั้งพรรคใหม่เลยหรือซื้อหัวของพรรคที่มีคนตั้งไว้แล้วก็ได้ ดังที่ นักการทหาร นักวิชาการและนักธุรกิจอื่นๆ ได้ดำเนินการไปในอดีต


การตั้งพรรคการเมืองเองนั้นตั้งไม่ยาก แต่เมื่อตั้งแล้วจะทำให้พรรคการเมืองนั้นประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนในสนามการเมืองนั้น เป็นเรื่องที่ยากเป็นอย่างยิ่ง มีหลายพรรคที่จัดตั้งขึ้นมา โดยผู้มีบารมีนอกวงการทางการเมือง ปรากฏขึ้นในสนามการเมือง มีช่วงเวลาที่เจิดจรัสเพียงสั้นๆ และสิ้นสลายไปในที่สุด เช่น พรรคราษฎร พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคไทยรักไทย และพรรคมหาชนเป็นต้น
เงื่อนไขที่ทำให้พรรคการเมืองมีบทบาทในสนามการเมือง ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงสั้นก็ตาม มีเงื่อนไขหลัก 3 ประการคือ ภาพลักษณ์ของหัวหน้าพรรคและแกนนำ ฐานจากสมาชิกพรรคที่เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และทุนในการดำเนินงานการเมือง


หัวหน้าพรรคของพรรคที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ต้องเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของสังคม มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่ง ระหว่างภาพลักษณ์ของการเป็นนักบริหารที่เป็นมืออาชีพ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล หรือภาพลักษณ์ของการเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์โปร่งใส มีคุณธรรม หากไม่มีภาพลักษณ์ใดโดดเด่น ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างบทบาทของพรรค


นอกจากหัวหน้าพรรคที่ต้องมีภาพลักษณ์โดดเด่นแล้ว แกนนำคนสำคัญของพรรคก็ต้องมีภาพลักษณ์ด้านบวกที่ใกล้เคียงกับหัวหน้าพรรค ซึ่งจะช่วยหนุนเสริมซึ่งกันและกัน หากหัวหน้าพรรคโดดเด่นแต่แกนนำไม่โดดเด่น ก็ทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคในภาพรวมด้อยลงไป


ฐานจากสมาชิกพรรคที่เป็นอดีต ส.ส. หรือ อาจเรียกว่าฐานมวลชนก็ได้ เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งในการหนุนเสริมบทบาทของพรรคที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ นักการเมืองที่เป็นอดีตส.ส. หรือนักเลือกตั้งมืออาชีพ เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของพรรคการเมือง เพราะบุคคลเหล่านี้มีฐานมวลชนของตนเองในพื้นที่ เมื่อพวกเขาลงสมัครรับเลือกตั้ง โอกาสที่จะได้รับเลือกตั้งจะมีสูง หากได้บุคคลเหล่านี้เป็นสมาชิกพรรค จะทำให้พรรคได้จำนวน ส.ส. ในสนามเลือกตั้งเพิ่มขึ้น หากพรรคไม่มีกลุ่มบุคคลเหล่านี้เป็นฐานในการเลือกตั้ง มีแต่ผู้สมัครหน้าใหม่ โอกาสที่พรรคจะสูญหายจากเวทีการเมืองก็มีสูงยิ่ง ดังที่เกิดขึ้นกับ พรรคถิ่นไทยและหลายๆพรรคในอดีต


ทุนในการดำเนินงาน พรรคการเมืองไทยต้องใช้ทุนจำนวนมหาศาลในการเลือกตั้งหากผู้มีบารมีนอกวงการการเมือง มีทุนมากก็ใช้ทุนตัวเองในการตั้งพรรคและเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรค ตลอดจนใช้ในการสร้างความผูกพันกับบรรดา ส.ส.ในพรรคหลังการเลือกตั้ง


การใช้ทุนตัวเอง จะทำให้ผู้มีบารมีมีอำนาจในพรรคสูงและอาจผูกขาดอำนาจไว้กับตัวคนเดียว ดังที่เกิดขึ้นกับบางพรรคที่ผ่านมาเร็วๆนี้ แต่หากผู้มีบารมีนอกวงการการเมืองไม่มีทุนเป็นของตนเอง ก็อาจใช้บารมีที่มีอยู่ระดมทุนจากกลุ่มทุนต่างๆเพื่อใช้ในการจัดตั้งและดำเนินงานของพรรคได้ แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ หากพรรคเกิดได้อำนาจทางการเมืองขึ้นมา การดำเนินนโยบายใดๆอาจต้องฟังเสียงจากผู้อุปการคุณเหล่านั้น ทำให้สูญเสียความเป็นอิสระในการตัดสินใจไประดับหนึ่ง และยังจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวง เพราะไม่ทราบว่าเมื่อไรที่บุคคลเหล่านั้นจะถอนการสนับสนุน เมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น พรรคก็ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างแน่นอน


ผู้มีบารมีคนใด ไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงการทหาร วิชาการ หรือธุรกิจ พึงไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะลงสู่สนามทางการเมือง ว่าตนเองมีเงื่อนไขทั้งสามพร้อมหรือยัง มิฉะนั้นอาจต้องมาสำนึกเสียใจภายหลัง



ทางเลือกที่สองสำหรับผู้มีบารมีนอกวงการการเมือง ที่ต้องการอำนาจทางการเมือง คือ การตั้งพรรคการเมืองเอง ซึ่งอาจจะตั้งพรรคใหม่เลยหรือซื้อหัวของพรรคที่มีคนตั้งไว้แล้วก็ได้ ดังที่ นักการทหาร นักวิชาการและนักธุรกิจอื่นๆ ได้ดำเนินการไปในอดีต


การตั้งพรรคการเมืองเองนั้นตั้งไม่ยาก แต่เมื่อตั้งแล้วจะทำให้พรรคการเมืองนั้นประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนในสนามการเมืองนั้น เป็นเรื่องที่ยากเป็นอย่างยิ่ง มีหลายพรรคที่จัดตั้งขึ้นมา โดยผู้มีบารมีนอกวงการทางการเมือง ปรากฏขึ้นในสนามการเมือง มีช่วงเวลาที่เจิดจรัสเพียงสั้นๆ และสิ้นสลายไปในที่สุด เช่น พรรคราษฎร พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคไทยรักไทย และพรรคมหาชนเป็นต้น


เงื่อนไขที่ทำให้พรรคการเมืองมีบทบาทในสนามการเมือง ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงสั้นก็ตาม มีเงื่อนไขหลัก 3 ประการคือ ภาพลักษณ์ของหัวหน้าพรรคและแกนนำ ฐานจากสมาชิกพรรคที่เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และทุนในการดำเนินงานการเมือง


หัวหน้าพรรคของพรรคที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ต้องเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของสังคม มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่ง ระหว่างภาพลักษณ์ของการเป็นนักบริหารที่เป็นมืออาชีพ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล หรือภาพลักษณ์ของการเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์โปร่งใส มีคุณธรรม หากไม่มีภาพลักษณ์ใดโดดเด่น ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างบทบาทของพรรค


นอกจากหัวหน้าพรรคที่ต้องมีภาพลักษณ์โดดเด่นแล้ว แกนนำคนสำคัญของพรรคก็ต้องมีภาพลักษณ์ด้านบวกที่ใกล้เคียงกับหัวหน้าพรรค ซึ่งจะช่วยหนุนเสริมซึ่งกันและกัน หากหัวหน้าพรรคโดดเด่นแต่แกนนำไม่โดดเด่น ก็ทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคในภาพรวมด้อยลงไป


ฐานจากสมาชิกพรรคที่เป็นอดีต ส.ส. หรือ อาจเรียกว่าฐานมวลชนก็ได้ เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งในการหนุนเสริมบทบาทของพรรคที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ นักการเมืองที่เป็นอดีตส.ส. หรือนักเลือกตั้งมืออาชีพ เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของพรรคการเมือง เพราะบุคคลเหล่านี้มีฐานมวลชนของตนเองในพื้นที่ เมื่อพวกเขาลงสมัครรับเลือกตั้ง โอกาสที่จะได้รับเลือกตั้งจะมีสูง หากได้บุคคลเหล่านี้เป็นสมาชิกพรรค จะทำให้พรรคได้จำนวน ส.ส. ในสนามเลือกตั้งเพิ่มขึ้น หากพรรคไม่มีกลุ่มบุคคลเหล่านี้เป็นฐานในการเลือกตั้ง มีแต่ผู้สมัครหน้าใหม่ โอกาสที่พรรคจะสูญหายจากเวทีการเมืองก็มีสูงยิ่ง ดังที่เกิดขึ้นกับ พรรคถิ่นไทยและหลายๆพรรคในอดีต


ทุนในการดำเนินงาน พรรคการเมืองไทยต้องใช้ทุนจำนวนมหาศาลในการเลือกตั้งหากผู้มีบารมีนอกวงการการเมือง มีทุนมากก็ใช้ทุนตัวเองในการตั้งพรรคและเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรค ตลอดจนใช้ในการสร้างความผูกพันกับบรรดา ส.ส.ในพรรคหลังการเลือกตั้ง


การใช้ทุนตัวเอง จะทำให้ผู้มีบารมีมีอำนาจในพรรคสูงและอาจผูกขาดอำนาจไว้กับตัวคนเดียว ดังที่เกิดขึ้นกับบางพรรคที่ผ่านมาเร็วๆนี้ แต่หากผู้มีบารมีนอกวงการการเมืองไม่มีทุนเป็นของตนเอง ก็อาจใช้บารมีที่มีอยู่ระดมทุนจากกลุ่มทุนต่างๆเพื่อใช้ในการจัดตั้งและดำเนินงานของพรรคได้ แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ หากพรรคเกิดได้อำนาจทางการเมืองขึ้นมา การดำเนินนโยบายใดๆอาจต้องฟังเสียงจากผู้อุปการคุณเหล่านั้น ทำให้สูญเสียความเป็นอิสระในการตัดสินใจไประดับหนึ่ง และยังจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวง เพราะไม่ทราบว่าเมื่อไรที่บุคคลเหล่านั้นจะถอนการสนับสนุน เมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น พรรคก็ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างแน่นอน


ผู้มีบารมีคนใด ไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงการทหาร วิชาการ หรือธุรกิจ พึงไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะลงสู่สนามทางการเมือง ว่าตนเองมีเงื่อนไขทั้งสามพร้อมหรือยัง มิฉะนั้นอาจต้องมาสำนึกเสียใจภายหลัง



3 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

นักการเมือง กับผู้มีอิทธิพล



มันเป็นของคู่กันของสังคมไทย

hot hot กล่าวว่า...

ภาพลักษณ์ดีจิงเหรอ



แล้วเบื้องหลังหล่ะ

Unknown กล่าวว่า...

มีเงิน มีอำนาจ



แต่ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ