วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551

อนุพงษ์ ต่อสายตรง ทักษิณ เบื้องหลังล้มโหวต สมัคร


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความพลิกผันของสถานการณ์การเมือง นำไปสู่การล้มโหวตนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน สืบเนื่องมาจากเมื่อกลางดึกวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา หลังจากที่พรรคพลังประชาชนมีมติเสนอชื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ทำให้บรรดานายทหารระดับสูงหลายคนไม่สบายใจ เกรงจะเกิดแรงต่อต้านที่รุนแรงและนำไปสู่วิกฤติความขัดแย้งที่หนักหน่วงขึ้นไปอีก

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกได้โทรศัพท์สายตรงไปหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งความไม่สบายใจพร้อมกับระบุด้วยว่า สถานการณ์ จะไปไม่รอดหากเสนอชื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีก

หลังจากนั้นหลายฝ่ายได้ประสานงานกัน เริ่มจากนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช เดินทางไปร่วมหารือกับนายบรรหาร ศิลปอาชา ที่บ้านซอยจรัญสนิทวงศ์ 55 โดยมีแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ด้วย ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะสนับสนุนพรรคพลังประชาชน แต่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่ใช่นายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรี จึงประสานไปยังแกนนำพรรคพลังประชาชนที่คัดค้านนายสมัครว่า จะไม่เข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เลื่อนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปเป็นวันพุธที่ 17 กันยายน ดังกล่าว

อ้างอิง : http://hilight.kapook.com/view/28813

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

โหวตเลือกนายกฯ ล่ม! ส.ส.เข้าไม่ครบเลื่อนเป็น 17 ก.ย.


วันนี้ (12 กันยายน) เวลา 06.50 น. นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส.อีสานพัฒนา พรรคพลังประชาน กล่าวถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่จะมีขึ้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า เชื่อว่า ส.ส.จากกลุ่มต่างๆ ทั้งอีสานพัฒนา ส.ส.กลุ่มเหนือ กลุ่มวาดะห์ ฯลฯ กว่า 70 เสียงขึ้นไป จะไม่มีทางโหวตเลือกนายสมัคร สุนทรเวช กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ตามมติของพรรคพลังประชาชนอย่างแน่นอน เนื่องจากทุกคนก็รู้ว่านายสมัครไม่มีความเหมาะสม ดูได้จากนิสัยของนายสมัคร ที่คิดว่าตัวเก่งและถูกตลอดเวลา การไม่รับฟังความคิดเห็นใคร ซึ่งสื่อมวลชนก็ทราบดีว่า นายสมัครนั้นตั้งแง่อย่างไร

"ถ้าหากในที่ประชุมสภาเลือกนายสมัครกลับมาอีกครั้ง ความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบ และมีทีท่าว่าจะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ตนอยากจะบอกให้พรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมเอาประเทศชาติไว้ก่อนจะดีกว่า ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง ด้วยการเลือกคนที่เหมาะสมมาเป็นนายกรัฐมนตรี การที่ ส.ส.ทั้งเหนือและอีสานหลายๆ คน จะลงคะแนนให้นายสมัคร ก็เพราะว่าอาจต้องมนต์เขมร ที่ปัดเป่าทำให้เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยถึงได้เป็นอย่างนี้ไปเสียหมด ซึ่งการที่ใครๆ ต่างเลือกนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เพราะนายสมัครคงมีของดี มีคนพูดว่ามนต์เขมรขลัง กล่อมใครก็อยู่หมัด" นายปรีชา กล่าว

ด้าน นายปรีชา ยืนยันว่าจะไม่มีการโหวตสวน คือ ไปเลือกเอานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มานั่งนายกรัฐมนตรีแทนอย่างแน่นอน เนื่องจากโดยมารยาทางการเมืองแล้ว กลุ่มตนก็ต้องให้เกียรตินายสมัครที่เป็นหัวหน้าพรรคอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 09.40 น. นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 1 ครั้งที่ 14 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นเสนอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีผู้เข้าร่วมประชุม 145 เสียง มีผู้ให้การรับรอง 144 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง

จากนั้น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน ลุกขึ้นถกเถียงถึงระเบียบขั้นตอน รวมทั้งขอให้ประชุมสภาผู้แทนราษฎรนับองค์ประชุม โดยนายชัย ประกาศมีผู้เข้าร่วมประชุม 161 คน ดังนั้น ไม่ครบองค์ประชุมที่ต้องมี ส.ส.เข้าประชุม 233 คน จึงได้นัดประชุมเลือกนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในวันพุธที่ 17 กันยายน เวลา 09.30 น. และทำการปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว

โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้เข้าร่วมประชุมแต่อย่างใด ทั้งนี้ มีรายงานว่าแกนนำแต่ละพรรคร่วมรัฐบาลได้โทรศัพท์แจ้งไปยังแกนนำพรรคพลังประชาชนว่า จะไม่ขอร่วมประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี และถ้าพรรคพลังประชาชนยังดึงดันจะเสนอนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป พรรคร่วมทั้งหมดก็จะถอนตัวออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

ขณะที่ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทย กล่าวว่า ที่ไม่ร่วมประชุมไม่ใช่อริยะขัดขืน แต่พรรคพลังประชาชนไม่ให้ความชัดเจน จึงต้องรอดูสถานการณ์ไปก่อน ไม่ใช่เรื่องสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช คงต้องรอดูวันพุธที่ 17 กันยายน ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งต่อไป

อ้างอิง : http://hilight.kapook.com/view/28777

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

สมัคร หลุดตำแหน่ง นายกฯ มติศาล 9-0 ขาดคุณสมบัติ

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี "สมัคร สุนทรเวช" จัดรายการชิมไปบ่นไป และยกโขย่งหกโมงเช้า มีมติเอกฉันท์ให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ ด้านพรรคพลังประชาชน เตรียมผลักดัน"สมัคร"เป็นนายกฯ รอบ 2


นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.และคณะรวม 29 คนและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของ "นายสมัคร สุนทรเวช" นายกรัฐมนตรี ในการรับจัดรายการ "ชิมไป บ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" เป็นนัดสุดท้าย หลังจากได้นัดไต่สวนนายสมัคร และนายศักดิ์ชัย แก้ววรรณีสกุล กรรมการบริหารบริษัท เฟซ มีเดีย ผู้ผลิตรายการชิมไปบ่นไป และยกโขยง 6 โมงเช้า เป็นนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา


ทั้งนี้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยว่า การจัดรายการ "ชิมไป บ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" ของนายสมัครนั้นมุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ถือได้ว่าขัดรัฐธรรนูญ ส่งผลให้ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยมติเอกฉันท์ 9-0 ก่อนหน้านนั้น นายสุขุมพงษ์ โง่นคำ ส.ส.สัดส่วน และคณะทำงานด้านกฎหมายพรรคพลังประชาชน กล่าวกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยคดีชิมไปบ่นไป ของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่า แนวทางที่ศาลจะวินิจฉัยนายสมัครมี 2 ทาง 1. เป็นนายกรัฐมนตรีต่อหรือไม่ และ 2. ไม่ได้เป็น เพราะขัดมาตรา 182 วงเล็บ 7 ประกอบรัฐธรรมนูญในมาตรา 267 ซึ่งกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยว่านายสมัคร มีการกระทำที่ต้องห้ามต่อคุณสมบัติการเป็นนายกฯ และต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็พ้นจากการทำหน้าที่เช่นเดียวกันนั้น


หลังจากนี้เมื่อศาลส่งคำวินิจฉัยมายังสภาฯ ประธานสภาก็จะต้องแจ้งให้สมาชิกสภาเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ทั้งนี้ในกรณีของนายสมัคร ถือเป็นกรณีเดียวกับ นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ ที่เคยพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไปแล้ว แต่สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหารได้ใหม่


"แม้ในที่สุดศาลวินิจฉัยว่ามีการกระทำการต้องห้าม ทำให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป แต่สถานะความเป็นส.ส.ยังคงอยู่ ดังนั้นนายสมัครก็สามารถจะปฎิบัติหน้าที่ในส่วนของ ส.ส.ได้ และมีสิทธิที่จะได้รับการโหวตเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง แต่ต้องหยุดการกระทำต้องห้าม ส่วนสมาชิกพรรคพลังประชาชนจะเลือกนายสมัครมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ แต่สถานการณ์ขณะนี้นายสมัคร ยังมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ เว้นแต่จะมีเหตุการณ์พิเศษอะไรเกิดขึ้น" นายสุขุมพงษ์ กล่าว


อ้างอิง : http://hilight.kapook.com/view/28680
ผึ้งแตกรัง..."นักศึกษา" หยุดเรียนร่วมม็อบ! กู้ชาติ


นักศึกษา กู้ชาติดีเดย์วันนี้หยุดเรียนทั่วปท. ใช้ยุทธการ ผึ้งแตกรัง บุกจุดสำคัญทุกภาค

นายวสันต์ วานิขย์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนนิสิตนักศึกษากู้ชาติ หรือยังแพด (Young PAD) แถลงยืนยัน ได้ประสานกับแนวร่วมทั่วประเทศแล้วว่า ในวันพรุ่งนี้ (9 กันยายน) จะเริ่มหยุดเรียนเป็นวันแรกจากเวลา 3 วัน เพื่อออกเคลื่อนไหวทางการเมืองตามยุทธการ "ผึ้งแตกรัง" โดยจะนัดรวมตัวกันตามจุดสำคัญต่างๆ ในแต่ละภาค แต่จุดใหญ่ที่สุดคือสะพานมัฆวานฯจากนั้นจะมาหารือเพื่อกำหนดท่าทีว่าจะเคลื่อนขบวนนักศึกษาไปกดดันยังสถานที่ใด แต่เบื้องต้นอาจจะไปสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อทวงถามความคืบหน้าคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล

ขณะที่นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เคยมีการปรามาสว่านิสิต นักศึกษา ไม่สนใจปัญหาบ้านเมือง ดังนั้น ในวันที่ 9 กันยายน ซึ่งเป็นวันดีเดย์ จะได้เห็นนิสิต นักศึกษา 80 สถาบัน ออกมาแสดงพลัง ซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัย และอาจารย์ต้องสนับสนุนอย่างมีวิจารณญาณ โดยนิสิต นักศึกษา มีสิทธิหยุดเรียน และอาจารย์มีวิจารณญาณที่จะไม่นับเป็นวันขาดเรียน โดยถือเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นการเรียนรู้ปัญหาบ้านเมือง และสร้างจิตสำนึกให้รักบ้านเมือง ฉะนั้น การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. และตำรวจออกมาปรามนิสิต นักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหว โดยเอาระเบียบข้อบังคับมาห้ามนั้น ควรคิดใหม่ได้แล้ว

ส่วนนายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ได้เปิดเว็บไซต์นิสิต นักศึกษารวมใจ..รักษาประชาธิปไตย http://www.mua.go.th/democracy.html เป็นเวทีให้แสดงความคิดเห็นบทบาทของนิสิต นักศึกษา ว่าส่วนใหญ่คิดเห็นอย่างไร เพื่อนำไปจัดการเรียนการสอนเรื่องประชาธิปไตยว่าควรมีรูปแบบอย่างไร ส่วนการเคลื่อนไหวแสดงความคิดเห็นขณะนี้ อาจทำให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยไม่พอใจ จึงต้องเคลื่อนไหวด้วยความบริสุทธิ์ใจ อยากฝากนิสิต นักศึกษาให้ดูแลรักษาตัวเองให้ปลอดภัย

ที่ จ.ชุมพร นักเรียน นักศึกษา ประมาณ 300 คน จาก ร.ร.ศรียาภัย ร.ร.สอาดเผดิมวิทยา และวิทยาลัยเทคนิคชุมพร พร้อมประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมพร ร่วมชุมนุมหน้าวิทยาลัยเทคนิคชุมพร และหน้าโรงเรียนศรียาภัย นำโดย นายสุนทร รักษ์รงค์ ผู้ประสานงานพันธมิตร 14 จังหวัดภาคใต้ ร่วมขับไล่รัฐบาล และยังทำโลงศพจำลองเขียนชื่อนายสมัคร

นายสมบูรณ์ พรพิเนตรพงษ์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กล่าวว่า ให้อิสระในการทำกิจกรรมของนักศึกษาอย่างเต็มที่ หากจะหยุดเรียนสามารถทำได้ ในส่วนของอาจารย์และบุคลากรนั้นได้ร่วมกันล่ารายชื่อเพื่อให้รัฐบาลลาออก แก้ปัญหาของชาติ ขณะนี้มีผู้สนใจมาร่วมลงชื่อจำนวนมากแล้ว
ผศ.ดร.เศาวนิต เศาณานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่า ในฐานะผู้บริหารไม่มีนโยบาย หรือสนับสนุน หรือขัดขวางนักศึกษา รวมถึงอาจารย์ผู้สอนที่จะไปเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นสามารถไปร่วมได้ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล
ศาลชี้ชะตา สมัคร วันนี้ ชิมไปบ่นไป ขาดคุณสมบัติ?



สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก INN NEWS และ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (8 กันยายน) นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้องของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ในการรับจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" เป็นนัดสุดท้าย โดยนัดไต่สวน นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้อง และนายศักดิ์ชัย แก้ววรรณีสกุล กรรมการบริหารบริษัท เฟซ มีเดีย ผู้ผลิตรายการชิมไปบ่นไป และยกโขยง 6 โมงเช้า
โดย นายสมัคร ได้ให้การยืนยันต่อศาลว่า การจัดรายการดังกล่าวไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือเงินเดือน โดยจะได้รับเป็นครั้งคราวตามที่จัดรายการ ในลักษณะรับจ้างไม่ใช่ลูกจ้าง ทั้งนี้เมื่อมีการกำหนดวันหาเสียงเลือกตั้ง ก็ได้ศึกษาข้อกฎหมายกับทนายความ ซึ่งได้รับการยืนยันว่า สามารถทำได้ในลักษณะรับจ้าง
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี และมีการร้องเรียนเข้ามาตนก็ได้ยุติการจัดรายการ พร้อมกับสั่งให้มีการงดนำเทปที่บันทึกไว้ไปออกอากาศทันที จึงมั่นใจว่าตนไม่ได้ทำผิด พร้อมกันนี้ยังสาบานกลางศาลว่า หากตนกล่าวเท็จขอให้ไม่เจริญ



"ผมยืนยันและสาบานไว้ตรงนี้ด้วยว่า ไม่เคยเรียกร้องอะไรเลย ถ้าผมไปเรียกร้องอะไรเขาล่ะก็ ขออย่าให้ผมมีความเจริญ ขอให้บรรลัยวายวอดไปก็แล้วกัน แต่หากผมไม่ได้ทำอย่างนั้น ต้องให้ผมมีความเจริญรุ่งเรือง" นายสมัคร กล่าว
ทั้งนี้คณะตุลาการได้ใช้เวลาสืบพยานทั้ง 2 ปากเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นคณะตุลาการได้ประชุมเพื่อกำหนดนัดอ่านคำวินิจฉัย โดยศาลนัดคู่ความฟังคำวินิจฉัยใน วันนี้ (9 กันยายน) เวลา 14.00 น.
อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในวันอังคารที่ 9 กันยายน ว่านายสมัครมีคำผิดตามคำฟ้องจริง จะส่งผลให้นายสมัครจะต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในทันที ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7) แต่ความเป็น ส.ส.ยังคงอยู่ รวมทั้งคณะรัฐมนตรีก็จะต้องสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีไปทั้งคณะ อย่างไรก็ตาม นายสมัครสามารถจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้เหมือนเดิม หากสภาผู้แทนราษฎรเสนอชื่อให้กลับมาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง



วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

สันติวิธี … เพื่อสันติประชาธิปไตย




สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


หลังเกิดเหตุการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น หลายคนตั้งคำถามขึ้นในใจว่าเพราะอะไร ทำไมถึงมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ทำไมคนไทยถึงฆ่าคนไทยด้วยกันเอง และจะทำอย่างไรปัญหาต่างๆ ถึงจะจบลงอย่างสันติ ไม่มีการนองเลือดจนลามไปถึงสงครามกลางเมือง ดังนั้น วันนี้เรามีจึงหยิบเอาคติธรรมข้อคิดดีๆ จากพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี มาฝากคนไทยทุกคนค่ะ

(1) ขอให้รัฐบาลและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและคนไทยทั้งปวง จงทำใจให้กว้างโดยการตระหนักรู้ว่า การชุมนุมกันทางการเมืองก็ดี ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันก็ดี ถือว่า นี่เป็นปรากฏการณ์อันเป็นธรรมดาของบ้านเมืองที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

(2) ขอให้รัฐบาลและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นใหญ่ เป็นสำคัญ อย่าทำการใดก็ตาม เพียงเพื่อสนองผลประโยชน์ของตนเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงว่าประเทศชาติประชาชนจะเสียหายใหญ่หลวงเพียงไร

(3) ขอให้ทุกท่าน ทุกคน ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักธรรมสำคัญ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาโดยไม่เสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกันดังต่อไปนี้

3.1 ขอให้ยึดมั่นใน "ขันติธรรม" กล่าวคือ การอดทนอดกลั้นให้ถึงที่สุด อย่าลุแก่โทสะ คือ ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา หรือนำไปสู่การเผชิญหน้ากันโดยขาดความยั้งคิด

3.2 ขอให้ยึดมั่นใน "สันติธรรม" กล่าวคือ ใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหาทุกขั้นตอน โดยขอให้คิดอย่างสันติ (เช่น ไม่วางยุทธศาสตร์ให้ทหาร ตำรวจ ใช้อาวุธสงครามบุกเข้าทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์) พูดอย่างสันติ (เช่น ไม่กระตุ้นให้เกิดความเกลียดชัง หรือยั่วยุให้เกิดการใช้ความรุนแรง) และทำอย่างสันติ (เช่น ใช้การเจรจาเป็นทางออกสำหรับการแก้ปัญหา)

3.3 ขอให้ยึดมั่นใน "เมตตาธรรม" กล่าวคือ อย่าเผชิญหน้ากันโดยการตั้งธงแห่งอคติไว้ล่วงหน้าว่า ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับตนเป็น "ปรปักษ์" ที่จะต้องถูกกำจัด ถูกลงฑัณฑ์ให้หนักหนาสาหัส แต่ขอให้เผชิญหน้ากับคนที่อยู่ตรงข้ามกับตนในฐานะที่เขาก็เป็น "คนไทยเหมือนกันกับเรา" เขาแค่เห็นหรือปฏิบัติไม่ตรงกับเรา ไม่ได้หมายความว่าเขามี "ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์น้อยกว่าเรา"

3.4 ขอให้ยึดมั่นใน "นิติธรรม" กล่าวคือ เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ประเทศชาติประกอบด้วยคนที่ต่างคนต่างความคิด ต่างความเห็น ต่างความต้องการ หากทุกคน ทุกฝ่าย ต่างยึดเอา "ความต้องการ" ของตนเป็นที่ตั้ง ก็ไม่มีทางที่ประเทศชาติจะมีสันติสุขได้เลย ดังนั้น เราทุกคน ทุกฝ่าย จึงควรร่วมกันยกเอากฎหมาย ขึ้นเป็นใหญ่ เป็นสำคัญ เป็นบรรทัดฐาน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คนทุกคนที่ไม่ยอมให้แก่ใคร ในท้ายที่สุดก็ควรจะยอมให้แก่กฎหมาย เมื่อมาอยู่เบื้องหน้ากฎหมายแล้วขอให้เราเคารพกฎหมาย เพราะหากไม่เคารพกฎหมายเลย บ้านเมืองก็จะเข้าสู่สภาพอนารยะ ไม่มีขื่อไม่มีแป ไม่มีหลักประกันในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และจะก่อให้เกิดสภาพล้าหลังในทุกๆ ทางอย่างน่าเสียใจเป็นที่สุด

ขอให้เราคนไทยทุกภาคส่วน ร่วมกันตั้งกัลยาณจิต ภาวนาให้เราสามารถก้าวข้ามวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ร่วมกันอย่างสันติในเร็ววัน
พันธมิตร ซัดหมักรวบอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ที่ห้องสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ แถลงถึงกรณีครม.มีมติโอนอำนาจทุกกระทรวงให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่า เป็นวิธีการเผด็จการอย่างชัดเจนทั้งที่นายสมัครบอกว่าจะรักษาประชาธิปไตย ถ้าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยก็คงไม่ทำแบบนี้ เพราะนายกฯ ยึดอำนาจรัฐมนตรีทั้งคณะให้สามารถสั่งการได้คนเดียว ทั้งที่นายกฯ ไม่ได้มีความรู้ความสามารถที่จะสั่งการได้ทุกกระทรวงและนายสมัครก็ไม่ได้มีประสบการณ์ในทุกเรื่อง อีกทั้งนายกฯก็เริ่มไม่ไว้วางใจทหาร แม้ตัวเองเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยังไม่พอยังยึดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งการบริหารแบบนี้ก็มีแต่ประเทศเผด็จการเท่านั้น
เมื่อถามว่า พันธมิตรเป็นห่วงอำนาจทหารที่อยู่ในมือนายกฯหรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่าไม่เป็นห่วง เพราะยังเชื่อมั่นในอำนาจของพลังประชาชนที่บริสุทธิ์ และพลังประชาชนก็ยังสนับสนุนพันธมิตรเพียงพอ ถ้าประชาชนยังสนับสนุนก็ไม่ต้องกลัวสิ่งใดๆ และถ้าประชาชนไม่ให้การสนับสนุนก็ว่าไปตามกฎเกณฑ์ ไม่วิตกกังวล

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

มติครม.นัดพิเศษ-ทำประชามติ เพื่อหาทางออก-วิกฤติการเมือง



นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล(4ก.ย.) นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รมว.วัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.มีมติให้มีการลงประชามติ เพื่อหาทางออกสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ส่วนรายละเอียดประชามตินั้น ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาในแง่กฎหมายประชามติ ที่จะผ่านที่ประชุมวุฒิสภาเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ นายกฯบอกว่าการทำประชามติเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว
ด้านนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวหลังการประชุมครม.วาระพิเศษ ว่า นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรฯได้เสนอเรื่องการทำประชามติรับฟังความเห็นประชาชนเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์การเมือง และหยิบยกข้อกฎหมายเรื่อง พ.ร.บ.ประชามติ ขึ้นมาหารือ ซึ่งการทำประชามติก็เพื่อให้ประชาชนรับรู้ว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก เพราะขณะนี้สังคมสับสน ส่วนรายละเอียดประชามตินั้น จะกำหนดกันอีกครั้งโดยจะต้องเร่งออกพ.ร.บ.ฉบับนี้ให้เร็ว
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนของรัฐสภาที่จะส่งให้ส.ว.พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้หลักประชาธิปไตยที่อยู่ในระบบรัฐสภาเดินไปได้ เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุขโดย และยืนยันว่าสิ่งที่รัฐบาลทำไปนั้นถูกต้องมาโดยตลอด ขณะเดียวกันก็ต้องติดตามการชุมนุมของพันธมิตรฯประกอบด้วยว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรหรือไม่
เมื่อถามว่ามีการหารือเรื่องการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามที่สังคมเรียกร้องหรือไม่ รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ไม่ได้คุยเรื่องนี้ แต่ประ ชุมวันนี้มีการรับรองร่างกฎหมายสองฉบับโดยมอบอำนาจให้นายกฯเพื่อให้พ.ร.ก.ฉบับนี้เดินหน้าไปได้ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม กล่าวถึงการทำประชามติ ว่า เป็นเพียงการหารือเท่านั้น ขณะที่ นายพงศกร อรณณพพร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวเสริมว่า มีการเสนอเรื่องนี้ แต่ขอให้รอถามนายกฯดีกว่า

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

นายกฯ ประกาศ พรก. ฉุกเฉิน ในเขต กทม.
ด่วน! นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร
วันนี้ (2 กันยายน) สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย รายงานว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีกลุ่มบุคคลดำเนินการให้เกิดความวุ่นวาย กระทบความสงบเรียบร้อยต่อประชาชนและความมั่นคงของรัฐ กระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตย จึงต้องแก้ไขปัญหาให้สิ้นสุดโดยเร็ว
พร้อมมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีให้ ผบ.ทบ. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบตาม พรก. จนกว่าสถานการณ์จะสงบ โดยการประกาศใช้ พรก. ดังกล่าวทำให้ . . .

- ห้ามมีการชุมนุมตั้งแต่ 5 คนเป็นต้นไป หรือกระทำอันยุยงขัดต่อความสงบ
- ห้ามเผยแพร่ข้อความให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว จนกระทบความมั่นคงของรัฐ และความสงบทั่วราชอาณาจักร
- ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ยานพาหนะ ตามที่กำหนด
- ห้ามใช้อาคารและให้อพยพประชาชนออกจากอาคาร หรือให้ไปอยู่อาคารตามที่กำหนด
ทั้งนี้ใช้อำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่เป็นมีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจัดการสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 , 33 , 34 , 36 , 38 , 41 , 43 , 45 , และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ บัดนี้ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2551
ลงชื่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
มติ 5 พันธมิตร ไม่เจรจา ย้ำนายก ต้องออก


มติ5พันธมิตรฯ ยื่นเงื่อนไขเปิดการเจรจา สร้างการเมืองใหม่ ต่อเมื่อนายกฯประกาศลาออกเท่านั้น


นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นเวทีประกาศมติของ 5 แกนนำพันธมิตรฯ ไม่มีเป้าหมายที่จะเจรจาเพื่อยุติปัญหาไม่ว่าจะเป็นกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) หรือบุคคลใด แต่หากจะมีการเจรจา จะต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขเดียว คือรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต้องลาออก แล้วค่อยมาเจรจา พันธมิตรฯ ยินดีเจรจากับทุกกลุ่ม ทั้งนี้ก็เพื่อหาแก่นทางสู่การเมืองใหม่ต่อไป

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า ยังไม่รับการติดต่อจาก ผบ.ทบ.และยังไม่รู้ว่าจะเจรจาอะไร เพราะปัญหาขณะนี้เลยเวลาที่จะเจรจาแล้ว เนื่องจากรัฐบาลพรรคพลังประชาชนไม่มีความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไป การชุมนุมของพันธมิตร จะยังคงมีการถ่ายทอดผ่าน เอเอสทีวี ต่อไป จะไม่ยอมให้ปิดสถานี และจะต่อต้านจนถึงที่สุด พร้อมย้ำเงื่อนไขในการเจราของพันธมิตรคือ นายสมัคร ต้องลาออก และพรรคพลังประชาชนต้องไม่เป็นรัฐบาล.

โดย โพสต์ทูเดย์
วัน อังคาร ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 00:00 น.

ที่มา:http://news.sanook.com/politic/politic_301789.php




สันติภาพ... คือ ...บ่อเกิดของความสงบ





"สันติภาพ . . . เกิดขึ้นจากการไม่เห็นแก่ตัว
โดยการทำใจของตนเองให้อยู่เหนือโลก
จิตก็จะผ่องใส ใจก็จะบริสุทธิ์ จิตใจก็เยือกเย็นเป็นอิสระ
เกิดสันติธรรมภายในใจ . . ."
เรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่า
. . . ทำไม . . . โลกนี้จึงขาดแคลนสันติภาพ ?
กับหลายคำถาม . . . หลายๆ เหตุผลที่ทุกคนต่างได้ยินได้ฟัง
หากเราได้พิจารณาดูอย่างละเอียดแล้ว
เราจะพบว่า . . . สาเหตุที่ทำให้โลกนี้ . . .
"ขาดแคลนสันติภาพ"
ก็เพราะไม่สามารถจะคว้าเอาสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ มือ
หรือยิ่งกว่าสิ่งที่อยู่ในมือ หรือแม้กระทั่งสิ่งทั้งปวงในโลกใบนี้ได้
. . . นี้คือ คำตอบ ซึ่งดูเหมือนกับว่า . . .
เรามีหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังขาดอยู่
จึงพยายามที่จะแสวงหา และไขว่คว้ามาให้เพียงพอ
หรืออาจมากเกินไป . . . ให้แก่ตนเอง
อย่างไม่รู้จักจบสิ้น
แต่เมื่อใด ที่เรารู้จักคว้า . . .
สันติภาพ สันติธรรม อันเกิดจากพุทธธรรม
ก็ย่อมนำมา ซึ่งประโยชน์ให้แก่ตัวเรา
เราก็จะพบว่า . . . ที่เราจะแสวงหาสันติภาพชนิดนี้
ก็ต้องเข้าใจว่า . . . แสวงด้วยการสงครามภายใน
คือพยายามที่จะรบ . . . รบด้วยอาวุธ ด้วยปัญญา ทำลายข้าศึก
คือ ทำลายความโง่ ความหลงให้หมดสิ้นไป
ถ้าหากว่า . . . จะมองดูพุทธธรรม หรือสันติภาพอันแท้จริงนี้
ตามแนวของอารยวัฒนธรรมนั้น
ย่อมหมายถึง . . . ความเจริญงอกงามทางความคิดและปัญญา
ของมนุษย์ที่ล้ำออกไปจากแนว ที่ธรรมชาติกำหนดให้
ในปัจจุบันนี้ . . . นับวัน . . . เรายิ่งจะห่างไกลจากสันติภาพ
เพราะต่างคนก็ส่งเสริม . . . "ตัวกู"
อย่างชนิดที่ว่า เพราะเป็นการเอาส่วนเกินมากเกินไป
แล้วก็เห็นแก่ตัวมากเกินไปนั่นเอง
เพราะฉะนั้น . . . ความเห็นแก่ตัว จึงถือว่า . . . เป็นอุปสรรค
เป็นต้นเหตุแห่งวิกฤตการณ์ทั้งหลายทั้งปวง
ที่ขัดขวางการพัฒนา . . . "สันติภาพ" ให้เกิดขึ้นในโลก
และภายในจิตใจของตนเอง
. . . การที่จะรอดจากวิกฤตการณ์ทั้งหลายนานาชนิดได้นั้น
อยู่ที่การทำลาย . . . "ความเห็นแก่ตัว"
เราจะต้องมีชีวิตอยู่ด้วยความรู้ที่ถูกต้องว่า . . . "มีตัวตน . . . ที่มิใช่ของตน"
ถ้าถอนความรู้สึกว่า . . . มีตัวตนออกไปเสียได้แล้ว
มันก็ไม่มีความเห็นแก่ตัวและไม่มีปัญหา
เพราะฉะนั้น . . .ในการที่จะสร้างสันติภาพให้แก่โลกนั้น
ขั้นแรกที่สุดก็คือ จัดที่ตัวเอง . . . ทำที่ตัวเอง . . . ให้เป็นผู้รู้จักสันติภาพก่อน . . .
แล้วพยายามที่จะขยายสันติภาพนั้น ให้แพร่หลายออกไปโดยกว้างขวาง
เรามาร่วมกันสร้างสันติภาพโลกภายนอก ให้เกิดเป็นสันติธรรมภายในจิตใจ ของเรากันเถอะ . . .


ขอขอบคุณข้อมูลจาก - dhammathai.org
วาทะธรรมว่าด้วย..สันติภาพ
จากท่านพุทธทาสภิกขุ
บทความโดย ชายน้อย ภาพประกอบจาก Kapook.com



ด่วน!! กกต. ลงมติเป็นเอกฉันท์ ยุบพรรคพลังประชาชน






วันนี้ (2 กันยายน) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเอกฉันท์ เสนอยุบพรรคพลังประชาชน ให้อัยการสูงสุดส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคพลังประชาชน

กรณีนี้สืบเนื่องจากการที่ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรค ถูกศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ.2551 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธ ตามคำร้องของ กกต. ที่ระบุว่า นายยงยุทธ เกี่ยวข้องกับการแจกจ่ายทรัพย์สินในการเลือกตั้งเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง)

ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/28399




วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551



เกาะติดนาทีต่อนาที ปฎิบัติการพันธมิตรวันนี้




เกาะติดสถานการณ์ ยึดทำเนียบรัฐบาลภายใต้ยุทธการไทยคู่ฟ้า วันนี้ (1 กันยายน) วันที่ 7 แนวทางแก้ปัญหาของรัฐบาลสร้างบรรทัดฐาน ของสังคมได้อย่างไร ติดตามได้ที่นี่



15.50 น. หรั่ง ร็อคเคสตร้า นำผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ บวงสรวงพระพรหมในทำเนียบรัฐบาล ขอขมาและขอใช้สถานที่ หากผู้ชุมนุมทำอะไรล่วงเกิน


15.35 น. ศาลแพ่งยกคำร้องของสำนักนายกรัฐมนตรี ขอเพิกถอนคำสั่งทุเลาคดีกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล


13.55 น. เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ เตรียมเคลื่อนขบวนไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้นิสิตออกมาต่อต้านรัฐบาลที่ใช้ความรุนแรงกับประชาชน


13.45 น. ปลัดกทม. กำชับจัดสายตรวจดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน หลังเกิดเหตุลอบวางระเบิดขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา


13.28 น. "พิภพ" ยืนยันพันธมิตรฯ จะยังคงชุมนุมอย่างสงบอยู่ในที่ตั้ง ไม่เคลื่อนย้าย หลังนายกรัฐมนตรียืนกรานรักษาประชาธิปไตยไม่ฟังเสียงสมาชิกรัฐสภา


12.47 น. เวทีปราศรัยพันธมิตรฯ ยังคงดำเนินต่อไป แม้ฝนตกลงมาอย่างหนัก ทำให้ผู้ชุมนุมบางตากว่าทุกวัน


12.46 น. ประธานสภาอุตสาหกรรม ชี้นักลงทุนจับตาการเมืองระอุหวั่นกระทบความเชื่อมั่น แนะหาคนกลางไกล่เกลี่ยม็อบ-ปรับรัฐบาลช่วยการเมืองคลี่คลาย


12.42 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เชื่อพนังงานรัฐวิสาหกิจไม่หยุดงานสมทบพันธมิตรฯ เพิ่มอีก ด้านกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ระบุสหภาพสามารถลางานได้ภายใต้กฎหมาย


11.59 น. ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม ขู่นัดประชุมรัฐมนตรีฯ คมนาคมและผู้ว่ารฟท. 8 กันยายนนี้ ฟ้องค่าเสียหายและเลิกจ้างสหภาพฯ หากไม่กลับเข้าทำงานภายใน 3 วัน


11.54 น. กลุ่มนปก. จังหวัดกาฬสินธุ์ กว่า 1 พันคน ร่วมแสดงพลังสนับสนุนรัฐบาลนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ให้ทำงานต่อไป


11.41 น. ผบก.ยโสธร ส่งหน่วยปราบจราจล 150 นาย มายังกรุงเทพมหานคร เพื่อสมทบกำลังรับมือม็อบพันธมิตรฯ


11.33 น. แกนนำพันธมิตรฯ "สมศักดิ์ โกศัยสุข" เชื่อเหตุระเบิดเมื่อคืน ต้องการให้ประชนชนไม่กล้าเข้าร่วมกับพันธมิตรฯ ปล่อยข่าวรัฐบาลจัดม็อบชนม็อบ


11.31 น. เยาวชนกู้ชาติเรียกร้องรัฐบาลรับผิดชอบ ตำรวจทำร้ายม็อบพันธมิตรฯ พร้อมเผยเตรียมแผนดาวกระจาย ทำเช่นเดียวกับแกนนำชุดใหญ่ที่เคยทำ


11.25 น. สหภาพฯ ขสมก. ประชุมบ่ายนี้ หยุดงานร่วมพันธมิตรญ หรือไม่ ปัดบอกสถานที่ หวั่นสันติบาลเข้าตรวจสอบ


11.22 น. เลขาธิการพรรคพลังประชาชนชี้พันธมิตรฯ อยากได้การเมืองใหม่ ที่ขัดรัฐธรรมนูญ เชื่อไม่มีทางเลิกชุมนุม แม้รัฐบาลยุบสภาหรือลาออก


11.17 น. ประธานบอร์ด ร.ฟ.ท. ยอมรับบอร์ดเริ่มท้อแท้สถานการณ์ภายใน ขอเวลา 1-2 วัน ให้ความชัดเจน ลาออกยกชุด รับผิดชอบพนักงานหยุดให้บริการร่วมชุมนุมพันธมิตรฯ


11.09 น. เสมียนทนายความสำนักเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี ยื่นค้านการเพิกถอนคำสั่งศาลแพ่ง กรณีงดบังคับคดีต่อกลุ่มพันธมิตรฯ


11.07 น. แกนนำพันธมิตรฯ "พล.ต.จำลอง ศรีเมือง" ไม่เชื่อรัฐสภาแก้ไขปัญหาได้ ยืนยันต้องมีการเมืองใหม่เท่านั้น แจงไม่กลัวการลงเลือกตั้ง


10.41 น. มท.1 พร้อมผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมกับตำรวจนครบาลวางแผนรับมือม็อบ หลังมีข่าวพันธมิตรฯ และ นปก.อาจมีการปะทะกัน


10.37 น. กลุ่มคนรักทักษิณจัดตั้งกลุ่มรถตุ๊กตุ๊กและสี่ล้อแดง เฝ้าจับตากลุ่มพันธมิตรฯ ป้องกันการยกพลป่วนปิดสถานที่ราชการและสนามบิน พร้อมเตรียมวางพวงรีดสหภาพรัฐวิสหกิจ กรณีหยุดงานประท้วงรัฐบาล


10.32 น. หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ร้องสมาชิกรัฐสภาพร้อมใจลาออก เพื่อกดดันให้รัฐบาลพิจารณาตัวเอง เชื่อแก้วิกฤตชาติที่กำลังนำไปสู่ความรุนแรงได้


10.29 น. นักศึกษา มอ.หาดใหญ่ เปิดเวทีแสดงความเห็นแบบอิสระ ถึงวิกฤตการเมืองไทยในขณะนี้ เพื่อดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหา


10.27 น. สถานีรถไฟหลายจุดในจังหวัดนครสวรรค์เงียบเหงา ไร้คนใช้บริการและเจ้าหน้าที่ของการรถไฟที่ปฏิบัติงาน


09.50 น. พันธมิตรฯ นครสวรรค์ สวมเสื้อเหลืองเคลื่อนพลสมทบการชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลต่อเนื่อง


09.26 น. พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าบัญชาการที่นครบาลแล้ว ลั่นจะรีบจัดการเหตุระเบิดป้อมตำรวจจราจรก่อน พร้อมปรามม็อบพันธมิตรฯ อย่าริตัดไฟ ตัดน้ำ เพราะชาวบ้านเดือดร้อน


09.12 น. ผู้ช่วยนายสถานีรถไฟเชียงใหม่ เผยประชาชนทยอยคืนตั๋วรถไฟเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง ขณะพนักงานยอมเปิดเที่ยวขาขึ้นจากกรุงเทพฯ เพียง 1 ขบวน และขาล่อง 2 ขบวน


09.09 น. ชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นไปอย่างเงียบเหงา หลังรถไฟสายใต้กว่า 40 ขบวน ยังคงหยุดวิ่งเป็นวันที่ 4 ขณะสนามบินหาดใหญ่วางมาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูงสุด


09.05 น. สามโรงเรียนย่านสะพานมัฆวานเปิดการเรียนการสอนแล้ววันนี้ หลังเหตุการณ์รุนแรงลดดีกรีลง


08.31. รองผบช.น.ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณโรงเรียนโดยรอบการชุมนุม เป็นห่วงจราจรแยกยมราชและนางเลิ้ง พร้อมประสาน แกนนำพันธมิตรฯ เปิดพื้นที่จราจร


08.51 น. พันธมิตรฯปักหลักชุมนุมที่ทำเนียบฯโดยติดตามข่าวสารการอภิปรายวานนี้ ขณะประชาชนบางส่วนทยอยเดินทางกลับบ้าน


08.31. รองผบช.น.ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณโรงเรียนโดยรอบการชุมนุม เป็นห่วงจราจรแยกยมราชและนางเลิ้ง พร้อมประสาน แกนนำพันธมิตรฯ เปิดพื้นที่จราจร


08.20 น. "ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์" ฉายเดี่ยวสมัครชิงผู้ว่ากรุงเทพมหานครแบบไร้กองเชียร์ ชี้ไม่เหมาะสมกับช่วงสถานการณ์บ้านเมืองไม่สงบ ชูนโยบายรณรงค์คนไทยรักกัน อัดเปิด 2 สภาแก้วิกฤตแค่ละครเรียกคะแนน


08.10 น. ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคพลังประชาชน "สนอง เทพอักษรณรงค์ " ขู่ยกพลบุกกรุงเทพฯ หากม็อบพันธมิตร ยังทำบ้านเมืองวุ่นวาย


07.47 น. จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร. เชื่อเหตุระเบิดป้อมยาม ไม่เกินความสามารถตำรวจท้องที่ โบ้ยไม่ตอบรับตำแหน่งดูแล บช.น.ขอรอคำสั่งอย่างเป็นทางการก่อน


06.39 น. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรฯ เชื่อเหตุระเบิดป้อมตำรวจที่แยกประชาเกษมเมื่อคืนที่ผ่านมา เป็นการสร้างสถานการณ์โดยผู้ไม่หวังดี และต้องการโยนบาปให้กับกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ยืนยันยังคงปักหลักชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลต่อไป


06.13 น. นายกฯ ยังคงพักผ่อน ในบ้านพัก ซ.นวมินทร์81 หลังประชุม 2 สภา เมื่อคืนที่ผ่านมานานถึง 11 ชั่วโมง


05.34 น. พันธมิตรฯ ชุมนุมครบ100 วัน ในวันนี้ โดยช่วงเช้าได้ออกทำกิจกรรมต่างๆกันมากมาย


04.12 น. รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล1 ระบุหลังตรวจสอบเหตุระเบิดป้อมตำรวจแยกประชาเกษม เป็นการสร้างสถานการณ์ ไม่ประสงค์ต่อชีวิต โดยอีก 1 สัปดาห์รู้ว่าเป็นระเบิดชนิดใด


03.44 น. กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯที่ทำเนียบรัฐบาล เริ่มนอนหลับพักผ่อนกันเป็นจำนวนมาก ขณะที่บนเวทียังคงมีการร้องเพลงเพื่อชีวิตกันอย่างสนุกสนาน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก


อธิการนิด้า ชี้ประชุม 2 สภา ล้มเหลวสิ้นเชิง


"อธิการนิด้า" ชี้ ประชุม 2 สภา "ล้มเหลวสิ้นเชิง" จวก "รัฐบาล" ปิดกั้นไม่รับฟังเสียงฝ่ายค้าน ซ้ำเติมวิกฤตให้เลวร้ายลง บอก "สมัคร" ทิ้งเก้าอี้ ก่อนสังคมขัดแย้งเกินเยียวยา


นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวถึงการเปิดอภิปรายร่วม 2 สภาเพื่อแก้ปัญหาการเมือง ว่า การอภิปรายของสภาครั้งนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง นอกจากจะไม่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ ได้แล้วยังซ้ำเติมวิกฤตการณ์ให้เลวร้ายลงไปอีก แม้ว่าพรรคฝ่ายค้านจะพยายามชี้ให้เห็นถึงปัญหาและเสนอทางออกให้รัฐบาลซึ่งเป็นจุดประสงค์ของการเปิดประชุมสภาครั้งนี้ แต่ผู้อภิปรายฝ่ายรัฐบาลตั้งแต่นายสมัคร และแทบทุกคนกลับไม่รับฟัง


แต่กลับใช้เวทีนี้ปกป้องจุดยืนของตัวเอง ระบายความคับข้องใจ โจมตีพันธมิตรฯ ผลักประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลให้เป็นศัตรู ซึ่งนับว่าผิดหลักการของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างรุนแรง เพราะผู้ปกครองที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีสิทธิมองประชาชนเป็นศัตรูไม่ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลมากแค่ไหนก็ตาม รัฐบาลมีหน้าที่สร้างความสงบ ร่มเย็นให้กับคนทุกกลุ่ม ส่วนกลุ่มที่ต่อต้านก็ต้องทำความเข้าใจให้ได้ ไม่ใช่เห็นศัตรูที่จะจ้องทำลายล้าง นักการเมืองที่คิดเช่นนี้ถือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศอย่างใหญ่หลวง


"สถานการณ์ขณะนี้เลยขั้นที่ว่าจะมองว่าใครถูกใครผิด นักการเมืองในรัฐบาลกำลังหลงประเด็นอย่างรุนแรงที่คิดว่ามาจากการเลือกตั้งแล้วทำอะไรถูกหมด วันนี้รัฐบาลทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจถึงกับประท้วงไม่ยอมทำงาน เกิดอัมพาตในระบบการขับเคลื่อนของประเทศ แสดงว่ารัฐบาลหมดสมรรถนะในการบริหาร รัฐบาลต้องพิจารณาตัวเองด้วยการลาออกแล้วเปิดโอกาสให้การเมืองเดินไปข้างหน้าได้ ไม่เช่นนั้นความขัดแย้งในสังคมจะรุนแรงกว้างขวางจนไม่สามารถเยียวยาได้" อธิการบดีนิด้า กล่าว

อ้างอิง : http://hilight.kapook.com/view/28334

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551


นายกฯบอกขอใช้เวที2สภาฯ ถกทางออกวิกฤติการเมือง


นายกฯขอใช้ 2 สภาฯหาทาออกวิกฤติการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ บอกเปิดโอกาสสมาชิกแสดงความคิดเห็นเต็มที่!



นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวในรายการ"สนทนาประสาสมัคร"ว่า ในช่วงบ่ายโมงครึ่งวันนี้ตนจะไปฟังและจะชี้แจงในสภา และขอบคุณนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมา

"การประชุมรัฐสภาจะเป็นเวทีที่พูดจาได้ชัดเจน แสดงความเห็น ใครเข้าข้างใครยังไง ได้เลย แปลว่าบ้านเมืองนี้ฝ่ายนั้นมีโอกาสชนะใช่ไหม ทำไมคนเป็นนักการเมืองไม่มีความคิด ที่เจ็บช้ำคือบรรดาสหภาพแรงงาน รถไฟ ขสมก. การบินไทย มันอะไรนักหนา จะทำลายบ้านเมืองด้วยวิธีนี้"

นอกจากนี้ นายสมัครยังได้ชี้แจงเหตุปะทะกันที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล และมีภาพข่าวโดยระบุว่า ตำรวจใช้แก๊สน้ำตากับกลุ่มผู้ชุมนุมว่า ตำรวจได้ยืนยันแล้วไม่ได้เป็คนลงมือ ไอ้บ้าที่ไหนไม่รู้ หรืออาจเป็นมือที่สาม ได้ตั้งชุดตรวจสอบดูว่าเป็นใคร แล้วสื่อมวลชนเสนอข่าวนี้ วิจารณญาณอยู่ที่ไหน ยังสอบสวนอยู่แต่ข่าวออกไปทั่วโลกแล้ว ขณะที่บ้านเมืองได้รับการโหวตว่าเป็นเมืองที่น่าเที่ยวที่สุดในโลก ตนทำหน้าที่ของตัวเองตรงนี้ แต่คนกลุ่มหนึ่งคอยจ้องหาเหตุ ซึ่งตนเองไม่ได้กลัวแต่เกรงว่าบ้านเมืองเสียหาย

โดย คม ชัด ลึก
วัน อาทิตย์ ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 11:17 น.


วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551


สมัคร เลิกสลายม็อบทำเนียบหวั่นบานปลาย



สมัคร เลิกสลายการชุมนุมที่ทำเนียบ ใช้กระบวนการกฎหมายจัดการ ผวาบานปลาย รับสั่งเคลียร์พื้นที่ แต่ต้องยกเลิกเกรงอันตราย ย้ายจัดงานไปสวนอัมพรฯ

นายสมัคร สุนทรเวช

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ยืนยันว่าจะไม่มีการสลายการชุมนุม แม้จะถือว่าคำสั่งศาลแพ่งที่ให้พันธมิตรฯออกจากทำเนียบฯจะเป็นการให้ดาบมาถือไว้ ครั้งแรกคิดว่าจะเคลียร์พื้นที่

"แต่เมื่อไตร่ตรองแล้วเห็นว่าจะเกิดอันตรายได้ เพราะม็อบมีการสร้างแนวป้องกัน จึงจะให้แกนนำที่ถูกออกหมายจับมารายงานตัว จะไม่มีการสลายการชุมนุมเพื่อไม่ให้เกิดการสปาร์กอะไรขึ้นมา"

ถามว่ารัฐบาลจะเสียความชอบธรรมหรือไม่ เพราะไม่สามารถเข้าไปบริหารงานในทำเนียบฯได้ นายสมัคร กล่าวว่า ไม่มีปัญหา เพราะได้บ้างเสียบ้าง รัฐบาลไม่ได้เสียสถานะทางการเมือง ส่วนการจัดงาน 116 วันจากวันแม่ถึงวันพ่อที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 สค.ก็จะย้ายไปจัดที่สวนอัมพรฯแทน และเมื่อถามต่อว่า คิดถึงทำเนียบฯหรือไม่ นายสมัคร ก็ได้ถามกลับว่า ทำไมถามอย่างนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฯไม่มีท่าทีที่เคร่งเครียด แต่กลับตอบคำถามผู้สื่อข่าวอย่างใจเย็น

ทั้งนี้มีรายงานข่าวจากแหล่งข่าวใกล้ชิดนายกฯ ระบุว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาของนายกฯในเรื่อง กลุ่มพันธมิตรฯยึดทำเนียบฯจะใช้แนวทางตามกระบวนการยุติธรรม เช่น การฟ้องร้องต่อศาล เป็นต้น แต่จะยังไม่มีการใช้ความรุนแรงใดๆ

โดย กรุงเทพธุรกิจ
วัน พฤหัสบดี ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 11:45 น







วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ศาลสั่งพธม.ออกจากทำเนียบ จำลองระบุห้าทุ่มตร.เข้าสลาย





ศาลแพ่งมีคำสั่งให้พันธมิตรฯออกจากทำเนียบมีผลทันที ด้านจำลองระบุห้าทุ่มตร.เข้าสลายศาลแพ่งนัดฟังคำสั่งให้พธม.ออกจากทำเนียบคืนนี้




ล่าสุดเมื่อเวลา 22.00น.องค์คณะผู้พิพากษาศาลแพ่ง ได้ออกนั่งบังลังค์ และมีคำสั่งให้จำเลยทั้ง 6 กับพวก พาผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบรัฐบาล ให้รื้อถอนเวทีปราศรัย และให้ขนย้ายสิ่งกีดขวางที่อยู่ในทำเนียบ ออกจากพื้นที่ รวมทั้งให้เปิดพื้นที่ถนนพิษณุโลก และถนนราชดำเนิน โดยคำสั่งดังกล่าว ให้มีผลทันที




เมื่อเวลา 21.45 น. พล.ต.จำลอง กล่าวบนเวทีว่า มีการระดมกำลังตำรวจกว่า 5000 นายเพื่อสลายการชุมนุมในเวลา 23.00 น. แต่ไม่ต้องกลัว เพราะพันธมิตรมีเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ปักหลักชุมนุมในทำเนียบฯ หากจะแพ้ก็ต้องแพ้ในทำเนียบฯ อย่างไรก็ตาม พล.ต.จำลองได้กำชับอีกครั้งว่าหากแกนนำทั้ง 9 คนถูกจับ กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ต้องตามไป แต่ให้ปักหลักชุมนุมต่อไปอีก 2-3 วัน เชื่อว่าพันธมิตรจะได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน




นักวิชาการเชื่อจับ 5 แกนนำเกิดจลาจลแน่ เหตุคุมไม่ได้ วิพากษ์บุกยึดทำเนียบฯ - สถานที่ราชการ ไม่เหมาะ แต่ขอรัฐอย่าใช้ความรุนแรงปล่อยศาลตัดสิน เผยกระทบเศรษฐกิจระยะสั้น ขณะที่อาจารย์ มธ.ชี้พันธมิตรฯเสียความชอบธรรมจากการเคลื่อนไหว




รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงษธร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการเข้าไปยึดหน่วยงานราชการต่างๆเพราะนี่คือสมบัติของประเทศ งานราชการก็เป็นงานที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เอง กลุ่มพันธมิตรฯก้าวพลาด เสียเปรียบ ภาพติดลบอย่างมาก ในสายตามของคนทั่วไป เป็นการพลาดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการชุมนุมมากว่า 90 วัน ซึ่งถ้ามองเป็นเกม เกมนี้อาจจะจบลงได้ ดังนั้นอยู่ที่รัฐบาลจะใช้กลยุทธ์อย่างไรในการจัดการ ซึ่งหากใช้กลยุทธ์ผิดก็จะกลายเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กลุ่มพันธมิตรฯอีกครั้งหนึ่งได้ ส่วนพันธมิตรฯหากยังยืนหยัดต่อสู้ก็ต้องจัดกระบวนท่าใหม่สร้างความศรัทธากลับมาให้ได้ “นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามครรลองของประชาธิปไตย ก็ขอให้ทุกฝ่ายใช้ความอดทน ใช้เหตุผล อย่าให้เกิดการปฏิบัติรัฐประหาร เกิดการนองเลือด อาจจะมีความลำบากบ้าง เหนื่อยล้า แต่เชื่อว่าจะผ่านไปได้ด้วยดี เพราะเรามีประสบการณ์แล้วในเหตุการณ์ 16 ตุลา 19 ตุลา ที่สำคัญทุกฝ่ายต้องช่วยกันในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนชั้นกลางในเมืองและชนชั้นกลางในชนบทให้หมดไปจากสังคมไทย ไม่เช่นนั้นปัญหาความขัดแย้งรุนแรงไม่มีทางที่จะหมดไปในสังคมไทยได้ ” รศ.ดร.นิพนธ์ กล่าว
อ่านบทความต่อได้ที่ http://news.sanook.com/politic/politic_300312.php

เราเป็นประเทศประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน
แต่การใช้ประชาธิปไตย
ถูกต้องขนาดไหน ?

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ตำรวจขีดเส้นตาย ม็อบ ถอนตัว ภายใน 18.00 น.





ผบ.ตร. ฟันธงออกหมายจับ 5 แกนนำพันธมิตรฯ ฐานความผิดขัดต่อความมั่นคงประเทศ พร้อมขีดเส้นตาย18.00 น.วันนี้(๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๑)ให้ม็อบถอนตัว ด้านพันธมิตรฯเคลื่อนพลจากเอ็นบีทีกลับทำเนียบฯ


พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รอง โฆษก สตช. กล่าวว่า ได้เตรียมกำลังไว้พร้อมสำหรับการควบคุมสถานการณ์ และขอยืนยันว่าจะไม่ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม โดยจะใช้วิธีเจราจาด้วยสันติวิธี เพราะตำรวจเชื่อว่าแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมแต่ละคนมีความรู้ มีการการศึกษา และไม่ทำอะไรให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง ส่วนการบุกยึดสถานี NBT นั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรสวจสามารถควบคุมตัวได้ทั้งหมด 80 คน เป็นชาย 78 คน หญิง 2 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนดำเนินคดี โดยได้แจ้ง 4 ข้อหา คือ


1.บุกรถุกสถานที่ราชการ

2.ทำให้เสียทรัพย์

3.มีอาวุธไว้ในครอบครอง

4.มียาเสพติดไว้ในครอบครอง เนื่องจากพบใบกระท่อมจำนวนมาก ซึ่งความผิดลักษณะดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท



"การบุกของกลุ่มผู้ชุมนุมผมเชื่อว่ามีการสั่งการเชื่อมโยงกันมาจากบุคคลภายนอกเข้ามาแทรกแซงในการปิดสถานีซึ่งเข้าข่ายการล้มร้างรัฐบาล โดยตำรวจยังควบคุมสถานการณ์ไว้อย่างต่อเนื่อง ถ้าพบการกระทำความผิดก็จะจับกุมทันที พร้อมกันนี้ได้จัดเตรียมกำลังประจำจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทำเนียบหรือสถานที่อื่นๆ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าไปอีก พร้อมกันนี้ได้ส่งการให้ฝ่ายสืบสวนบันทึกภาย ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวไว้เป็นหลักฐานเพื่อดำเนินคดีต่อไป" พล.ต.ต.สุรพล กล่าว


อ่านข่าวต่อได้ที่ http://news.sanook.com/politic/politic_299984.php

ความสงบสุขของประเทศเราจะกลับมาได้ยังไง


ตราบใด ที่พวกเรา


ยังแตกความสามัคคีกัน


คุณคิดว่าสิ่งที่ ฝ่ายพันธมิตร ทำ เป็นทางออกที่ดีสำหรับทุกคนแล้วหรือ


หรือจะมีทางออกอื่นอีกไหมสำหรับ พวกเรา ชาวไทยทุกคน


วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ทักษิณ ลาออกจากบอร์ด อ้างทำแมนซิตี้เสื่อม


"ทักษิณ" เสนอตัวลาออกจากบอร์ดแมนซิตี้
อ้างขายหน้าที่ทำให้สโมสรเสื่อมเสีย

(23 สิงหาคม) ประธานบริหารสโมสร แมนเชสเตอร์ซิตี้ แกร์รี่ คุ๊ก แถลงวันนี้ว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของสโมสรฯ ได้เสนอตัวลาออกจากคณะกรรมการบริหาร หลังลี้ภัยออกจากประเทศไทย เพื่อหลบหนีการถูกดำเนินคดีจากข้อหาคอรัปชั่น โดยเจ้าตัวให้เหตุผลว่า รู้สึกอับอาย ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่สโมสรและพรีเมียร์ลีก และเขาไม่ได้ตั้งใจที่จะทำให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้

คุ๊กบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เปรยว่า หากต้องการให้เขาลาออกจากผู้อำนวยการบอร์ด เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของพรีเมียร์ลีกเขาก็ยินดี ตราบใดที่ไม่ทำให้อะไรเปลี่ยนแปลง ซึ่งขณะนี้ทางสโมสรกำลังดูอยู่ว่าจะดำเนินการในทางใดได้บ้าง และพ.ต.ท.ทักษิณได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงด้วยว่า ให้อยู่ให้ห่างการแข่งขันที่ทีมแมนซิตี้ เตะในบ้านตัวเอง

อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ซึ่งพาครอบครัวเดินทางมาอังกฤษเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา อาจไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ และความเหมาะสมของผู้ที่เข้ามาครอบครองสโมสรฟุตบอลพรีเมียร์ลีกครั้งใหม่ ซึ่งพรีเมียร์ลีกอาจมีการพิจารณาอีกครั้ง หลังพิจารณาไปเมื่อปีแล้วหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กำลังเผชิญกับ 4 คดีความในศาลฎีกาแผนกคดีนักการเมืองที่จะมีการตัดสินคดีแรกในวันที่ 17 กันยายนนี้

และจากการที่ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกศาลอายัดไว้ ทำให้เขาต้องชะลอแผนการต่างๆ เกี่ยวกับสโมสร แต่ คุ๊ก ก็ยังยืนยันอย่างแน่วแน่ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บอร์ดก็จะไม่ยอมปล่อยหุ้น ข้างมากไป ซึ่งตอนนี้บอร์ดกำลังหารือกันในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการปรับโครงสร้างบอร์ด การขายหุ้น บางส่วนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้กับผู้ที่เหมาะสมที่จะเข้ามากำจัดแรงกดดันบางอย่างออกไป

นอกจากนี้สโมสรยังต้องการเซนต์สัญญาซื้อนักเตะระดับซุปเปอร์คนหนึ่ง เพื่อเสริมหน้าตาของสโมสร ในตลาดต่างๆ อย่างจีนและอินเดีย หลังความพยายามซื้อตัวโรนัลนิญโญ ไม่เป็นผล

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : http://hilight.kapook.com/view/28022

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อดีตนายกฯ ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกหลังจากเกิดรัฐประหารในประเทศไทย

บทสัมภาษณ์ต่อไปนี้ เป็นข้อความที่ผู้สื่อข่าว 'แดน ริเวอร์ส'

จากซีเอ็นเอ็น (ประเทศสิงคโปร์)

สัมภาษณ์อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

โดยคำถามแรกคือ เรื่องข้อกล่าวหาว่าทักษิณมีส่วนเกี่ยวพัน

กับการก่อเหตุระเบิดในคืนส่งท้ายปีใหม่ในกรุงเทพ

ขอบคุณคลิปวิดิโอ : http://www.youtube.com/watch?v=K3nVdqgqXbA

โพลเชื่อทักษิณมีความผิด จึงหนีคดีไปต่างประเทศ

สวนดุสิตโพลสำรวจพบกลุ่มตัวอย่างเชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำผิด จริงจึงหนีไปอยู่อังกฤษ เห็นควรให้กลับมาสู้คดีให้ถึงที่สุด ส่วนการเมืองมองจะยังเหมือนเดิม
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (17 ส.ค.) ว่า สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ จำนวน 2,312 คน เกี่ยวกับความรู้สึกของคนไทย กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ลี้ภัยไปประเทศอังกฤษ ผลปรากฏว่า ร้อยละ 34.55 เห็นว่า การหนีไปอยู่ต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า มีความผิดจริง ร้อยละ 21.58 เห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการลี้ภัย เพราะถือเป็นการหนีปัญหา และร้อยละ 20.67 เห็นว่า ควรดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจังและให้ความเป็นธรรมกับทุกคนส่วนสิ่งที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลดำเนินการมากที่สุดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวนั้น ร้อยละ 38.94 เห็นว่า ให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการอย่างอิสระ และไม่มีการควบคุมจากรัฐบาล ร้อยละ 29.44 เห็นว่า ให้ทุกอย่างควรดำเนินการตามกฎหมายอย่างถูกต้อง และร้อยละ 18.01 เห็นว่า รัฐบาลควรเจรจากับรัฐบาลอังกฤษให้ส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาประเทศไทย


สำหรับคำถามสิ่งที่ประชาชนอยากให้ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ดำเนินการมากที่สุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร้อยละ 43.01 เห็นว่า หยุดการชุมนุมประท้วง ร้อยละ 29.11 เห็นว่า ควรแสดงท่าทีอย่างพอประมาณ และร้อยละ 14.00 เห็นว่า ควรปล่อยให้การดำเนินคดีต่างๆ เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมนอกจากนั้น ผลการสำรวจครั้งนี้ ยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 51.58 เชื่อว่า การเมืองไทยหลัง พ.ต.ท.ทักษิณลี้ภัยจะเหมือนเดิม เพราะการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ร้อยละ 26.33 เชื่อว่า การเมืองไทยจะดีขึ้น และร้อยละ 22.09 เชื่อว่า การเมืองไทยจะแย่ลง ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานถึงสิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงอดีตนายกฯ มากที่สุด พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 43.44 เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรกลับมาสู้คดีให้ถึงที่สุด

(โดย ไทยรัฐ วัน อาทิตย์ ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551 14:40 น)

ขอบคุณข่าวและภาพประกอบ :
http://news.sanook.com/politic/politic_297635.php

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ล้อเลียนการเมือง

เมื่อมีข้อดี ย่อมมีข้อเสีย
ถึงมีข้อเสีย ก็ย่อมมีข้อดีเช่นกัน
ไม่มีใครดีไปทุกด้านหรอก คุณว่าจริงไหม ?

ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.padusa.org/AN/data/0002.html
10 เหตุผล !!
ระบอบทักษิณสิ้นความชอบธรรม
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
[ 22 มี.ค. 49, 11:28 น. ]



1. ขายประเทศ โกงภาษี หลบเลี่ยงกฎหมาย กรณีการขายกลุ่มบริษัทชิน

การขายบริษัทชินคอร์ปซึ่งครอบครองดาวเทียมจำนวน 4 ดวง สถานีโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และบริษัทสายการบินต้นทุนต่ำ มูลค่า 73,000 ล้านบาท แก่กองทุนเทมาเส็กซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยรัฐบาลสิงคโปร์ เป็นการขายกิจการสัมปทานของชาติที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลลุแก่อำนาจโดยแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการขายหุ้นให้ต่างชาติได้เกิน 25% เพียงวันเดียวก่อนทำการขาย เห็นดีเห็นงามกับการตั้งบริษัทบังหน้า เพื่อให้ต่างชาติถือครองหุ้นส่วนใหญ่โดยผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย อีกทั้งหาช่องโหว่ไม่ต้องเสียภาษีการซื้อขายแม้แต่สักบาทเดียว ผู้นำประเทศกลายเป็นแบบอย่างให้เกิดพฤติกรรมโกงภาษี และเปิดช่องให้ต่างชาติเข้ามายึดครองกิจการสำคัญๆของประเทศ


2. เอาชีวิตของเกษตรกร การเข้าถึงยาและได้รับการรักษาของคนไทยทุกคน แลกกับผลประโยชน์ของบริษัทครอบครัวและกลุ่มธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลกรณีการทำเอฟทีเอ

การลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับจีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ สร้างผลกระทบต่อเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้เมืองหนาว และเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อโคนมรวมกันกว่า 5 ล้านคน การเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐจะส่งผลกระทบรุนแรงกว่านั้นหลายเท่า เพราะต้องเปิดเสรีการลงทุน กิจการขนาดเล็กของคนไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ พันธุ์พืชถูกจดสิทธิบัตร ทรัพยากรธรรมชาติถูกครอบครอง ระบบหลักประกันสุขภาพทุกระบบได้รับผลกระทบ และประชาชนไทยต้องซื้อยาในราคาแพง นักลงทุนต่างชาติได้สิทธิฟ้องร้องรัฐ ยอมรับกลไกอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแทนการขึ้นศาลไทย แลกกับผลประโยชน์ของกลุ่มกิจการโทรคมนาคมของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลุ่มบริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งล้วนแล้วแต่ใกล้ชิดกับรัฐบาล ทั้งนี้ไม่นับการแก้ไขกฎหมายภายในหลายฉบับเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ


3. การแทรกแซงองค์กรอิสระ และการทำลายกลไกการตรวจสอบ

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ใช้อำนาจทางการเมืองและอำนาจเงินครอบงำวุฒิสภา แทรกแซงกระบวนการสรรหา การได้มา และการทำงานขององค์กรอิสระต่างๆ เช่น คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กลไกและกระบวนการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญถูกทำลายลงแทบหมดสิ้น แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่อาจเป็นที่พึ่งได้ ดังที่ได้ปฏิเสธที่จะพิจารณากรณีการซุกหุ้นภาค 2 ของนายกรัฐมนตรี จากการเสนอของสมาชิกวุฒิสภา 27 คนเมื่อเร็วๆนี้ การขาดกลไกการตรวจสอบทำให้อำนาจการบริหารอยู่ในมือของผู้นำอย่างเบ็ดเสร็จ เกิดการคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร และเปิดทางให้ตระกูลชินวัตรและบริวารสืบทอดอำนาจในการบริหารประเทศเยี่ยงทรราช


4. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อประโยชน์พวกพ้อง และบริษัทต่างชาติ

เมื่อมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยการเปิดขายหุ้นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.)นั้น หุ้นทั้งหมดถูกขายเกลี้ยงในเวลาเพียง 1 นาที 17 วินาที หุ้นส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของนักการเมืองพรรคไทยรักไทยและเครือญาติ มีการใช้อำนาจรัฐขยายสัดส่วนการถือหุ้นของเอกชนจาก 25 % เป็น 49% และกำหนดอัตราราคาแกสที่ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตในราคาที่สูง ดันให้ผลกำไรของปตท.ในปี 2548 สูงถึงกว่า 80,000 ล้านบาท ผลประโยชน์ดังกล่าวถูกแจกจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นและบริษัทต่างชาติ รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ยังเดินหน้าแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โดยการขายเลหลังราคาถูกในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ประเทศชาติเสียหายมากกว่า 3.3 ล้านล้านบาท อีกทั้งยังคงกุมการผูกขาดและไม่มีกลไกการกำกับดูแลคุ้มครองผู้บริโภค ประชาชนต้องเสียค่าไฟฟ้าในราคาแพงเพียงเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มทุนในรัฐบาลและบริษัทต่างชาติในสิงคโปร์ ทั้งนี้ไม่นับแผนการแปรรูปองค์การเภสัชกรรม องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เป็นต้น


5. การยึดครองและควบคุมสื่อ กรณีไอทีวี มติชน และคุกคามการทำงานของสื่อมวลชน นักกิจกรรมทางสังคม

บริษัทของครอบครัวนายกรัฐมนตรีได้เข้าซื้อกิจการของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีซึ่งเป็นดอกผลการต่อสู้ของประชาชนในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ใช้อำนาจรัฐลดภาษีสัมปทาน เปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้เพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิง กลุ่มธุรกิจที่ใกล้ชิดยังได้พยายามเข้าไปยึดครองกิจการของหนังสือพิมพ์มติชน และเข้าไปถือครองในกิจการสื่อต่างๆ มีการใช้งบประมาณของรัฐและงบประชาสัมพันธ์ของธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเพื่อควบคุมสื่อมวลชน สื่อมวลชนและนักกิจกรรมที่หาญกล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายนับพันล้านบาท เสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนไทยภายใต้ระบอบทักษิณตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา



6. การละเมิดสิทธิมนุษยชน การหายตัวไปของทนายสมชาย และความรุนแรงของปัญหาสามจังหวัดภาคใต้

นับตั้งแต่ปี 2477-2546 มีผู้ที่ถูกตัดสินลงโทษให้ประหารชีวิตเพียง 323 เท่านั้น แต่ช่วงเวลาเพียง 3 เดือน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2545 ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มงวดนั้นมีผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับคดียาเสพติดถูกฆ่าตายกว่า 2,000 ราย การใช้การปราบปรามแบบเหวี่ยงแห และการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีการหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร การกระทำการอย่างทารุณกับผู้ชุมนุมในกรณีตากใบ รวมทั้งการส่งทหารไทยไปยังอิรักตามคำร้องขอของรัฐบาลสหรัฐฯ คือสาเหตุสำคัญของการลุกลามของปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ที่เกิดจากระบอบทักษิณ



7. การตั้งรัฐอิสระ เปิดเสรีโดยลดทอนกฎหมายภายใน และทำลายการปกครองของท้องถิ่น

กรณีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษพร้อมๆกับการทำเอฟทีเอและแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเร่งรีบ รัฐบาลชุดนี้ยังได้ผลักดันร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้อำนาจฝ่ายบริหารในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น ให้อำนาจนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนในประเทศอย่างไร้ขอบเขต ทั้งด้านอุตสาหกรรม บริการ หรือแม้แต่กิจการบ่อนกาสิโน เพิกถอนสภาพที่สาธารณสมบัติเช่น เขตธรณีสงฆ์ ป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ รวบอำนาจการบริหารจากองค์กรท้องถิ่น เสมือนการจัดตั้งรัฐอิสระที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายใดๆของประเทศไทย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดในเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว


8. ความล้มเหลวของการปฎิรูปการศึกษา ปัญหาการโอนย้ายการศึกษาไปสู่องค์กรส่วนท้องถิ่น

การปฏิรูปการศึกษาไม่มีความคืบหน้าใดๆ มาตรฐานการศึกษาในทุกระดับตกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การเปิดเสรีการศึกษาจะทำให้การศึกษากลายเป็นการค้า เป็นการทำลายเป้าหมายของการศึกษาและกีดกั้นประชาชนยากจนออกไปจากระบบการศึกษาในท้ายที่สุด ปัญหาการโอนย้ายการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือเครื่องชี้ความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษา โดยการใช้อำนาจรัฐมากกว่ากระบวนการมีส่วนร่วม และสะท้อนให้เห็นว่ามิได้มีการสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นทั้งต่อสถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอด 5 ปีที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ในอำนาจ


9. ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ช่องว่างคนรวยคนจน ความเป็นจริงและผลกระทบการแจกจ่ายเงินไปสู่ชนบท

ป้าหมายของรัฐบาลคือการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของตลาดหุ้นโดยไม่ได้ดำเนินการใดๆ ที่เป็นการลดช่องว่างความแตกต่างระหว่างคนร่ำรวยกับคนยากจน หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 103,940 บาท/ครัวเรือน (พ.ศ. 2547) สถิติผู้บริโภคที่เป็นหนี้บัตรเครดิตถือจำนวนบัตรเครดิตสูงสุดเพิ่มขึ้นจาก 16 ใบเป็น 30 ใบ เงินที่รัฐบาลแจกจ่ายเงินไปให้ชนบทในรูปกองทุนหมู่บ้านเป็นการนำเงินที่ควรจะเป็นของท้องถิ่นกลับไปให้ท้องถิ่นแค่เพียงเศษเงิน งานวิจัยพบว่ามีการนำเงินจากกองทุนหมู่บ้านไปซื้อโทรศัพท์มือถือ 400 เครื่องต่อหนึ่งหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เป็นเงินถึง 480,0000 บาท/ปี(ไม่นับค่าซื้อเครื่อง) ต้องเอาเงินนอกระบบมาใช้หนี้กองทุน เอาเงินกองทุนไปใช้หนี้นอกระบบ กลายเป็นวงจรอุบาทว์ของหนี้อมตะ ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยคนจนเพิ่มมากขึ้นทุกทีจนอยู่ในระดับเดียวกันกับเม็กซิโก โคลัมเบีย และอาร์เจนตินา ปัญหาทั้งหมดรอวันปะทุเป็นความขัดแย้งที่รุนแรง


10.ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาโครงสร้างการจัดการทรัพยากร กรณี พ.ร.บ.ป่าชุมชน และการปฏิรูปที่ดินเพื่อคนยากจน

รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิได้ดำเนินการใดๆที่เป็นการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ข้อเรียกร้องของประชาชนในการปฏิรูปการจัดการทรัพยากร เช่น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน การบริหารน้ำโดยท้องถิ่น และการผลักดันให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจนถูกขัดขวางโดยรัฐบาล ในทางตรงข้ามรัฐบาลยังได้สนับสนุนส่งเสริมให้มีการลงทุนที่ทำลายวิถีชีวิตของชุมชน เช่น โครงการเหมืองแร่โปแตซ โครงการท่อส่งก๊าซโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ผู้นำชาวบ้านที่ต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรในท้องถิ่นถูกฆ่ามากกว่า 20 คน รวมทั้งพระสงฆ์นักอนุรักษ์


การหยุดยั้งระบอบทักษิณ เป็นก้าวสำคัญในการสร้างประชาธิปไตย

ที่ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นธรรม

และการจัดสรรทรัพยาการอย่างเท่าเทียม

เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน !!




พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 3 มีนาคม 2549
การไม่สนับสนุนสินค้าและบริการของครอบครัว
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
และกิจการสำคัญๆ ของสิงคโปร์ในประเทศไทย

โทรศัพท์
1. เลิกใช้โทรศัพท์มือถือ GSM , 1-2-Call พร้อมบริการอื่นๆ ในเครือ AIS
ธนาคาร & การเงิน
2. ไม่ใช้บริการธนาคารยูโอบี และธนาคารดีบีเอส และไม่ใช้บริการบริษัทแคปปิตอลโอเค
อสังหาริมทรัพย์
3. ไม่ซื้ออสังหาริมทรัพย์บริษัทเอสซีเอสเสท บริษัทริเวอร์ไซด์โฮมดิเวลลอปเม็นท์
และบริษัททีซีซีดีเวลลอปเม็นต์ หรือโครงการอื่นๆ ที่มีบริษัทแคปปิตอลแลนด์ถือหุ้น
เบียร์
4. ไม่ดื่มไทเกอร์เบียร์ และไฮเนเก้น
อินเตอร์เน็ต
5. เลิกใช้อินเตอร์เน็ตล็อกซ์อินโฟ ไม่ดู iPTV
ช้อปปิ้ง
6. ช้อปปิ้งย่านสยาม อย่าเผลอเข้าร้านถ่ายรูป She @ Mood (Shoot At Me)
และ ร้านกาแฟ Cafeinn และไม่จำเป็นต้องซื้อมือถือแพงๆ จากสมาร์ทโฟน
ทีวี
7. ให้กำลังใจนักข่าวและผู้ประกาศข่าวไอทีวี (และทีวีช่องอื่นๆ)
ต่อสู้กับผู้บริหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการเสนอข่าวสารอย่างซื่อสัตย์ต่อประชาชน และรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
เดินทางและท่องเที่ยว
8. งดเดินทางท่องเที่ยวสิงคโปร์ เที่ยวเมืองไทยซื้อของไทยสบายใจกว่า
9. ไม่ใช้บริการสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ และสายการบินแอร์เอเชีย
เลือกใช้บริการการบินไทย และสายการบินแบบประหยัดอื่นๆ