
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551
อนุพงษ์ ต่อสายตรง ทักษิณ เบื้องหลังล้มโหวต สมัคร

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551
โหวตเลือกนายกฯ ล่ม! ส.ส.เข้าไม่ครบเลื่อนเป็น 17 ก.ย.
วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551
สมัคร หลุดตำแหน่ง นายกฯ มติศาล 9-0 ขาดคุณสมบัติ

นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.และคณะรวม 29 คนและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของ "นายสมัคร สุนทรเวช" นายกรัฐมนตรี ในการรับจัดรายการ "ชิมไป บ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" เป็นนัดสุดท้าย หลังจากได้นัดไต่สวนนายสมัคร และนายศักดิ์ชัย แก้ววรรณีสกุล กรรมการบริหารบริษัท เฟซ มีเดีย ผู้ผลิตรายการชิมไปบ่นไป และยกโขยง 6 โมงเช้า เป็นนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา
ทั้งนี้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยว่า การจัดรายการ "ชิมไป บ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" ของนายสมัครนั้นมุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ถือได้ว่าขัดรัฐธรรนูญ ส่งผลให้ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยมติเอกฉันท์ 9-0 ก่อนหน้านนั้น นายสุขุมพงษ์ โง่นคำ ส.ส.สัดส่วน และคณะทำงานด้านกฎหมายพรรคพลังประชาชน กล่าวกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยคดีชิมไปบ่นไป ของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่า แนวทางที่ศาลจะวินิจฉัยนายสมัครมี 2 ทาง 1. เป็นนายกรัฐมนตรีต่อหรือไม่ และ 2. ไม่ได้เป็น เพราะขัดมาตรา 182 วงเล็บ 7 ประกอบรัฐธรรมนูญในมาตรา 267 ซึ่งกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยว่านายสมัคร มีการกระทำที่ต้องห้ามต่อคุณสมบัติการเป็นนายกฯ และต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็พ้นจากการทำหน้าที่เช่นเดียวกันนั้น
หลังจากนี้เมื่อศาลส่งคำวินิจฉัยมายังสภาฯ ประธานสภาก็จะต้องแจ้งให้สมาชิกสภาเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ทั้งนี้ในกรณีของนายสมัคร ถือเป็นกรณีเดียวกับ นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ ที่เคยพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไปแล้ว แต่สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหารได้ใหม่
"แม้ในที่สุดศาลวินิจฉัยว่ามีการกระทำการต้องห้าม ทำให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป แต่สถานะความเป็นส.ส.ยังคงอยู่ ดังนั้นนายสมัครก็สามารถจะปฎิบัติหน้าที่ในส่วนของ ส.ส.ได้ และมีสิทธิที่จะได้รับการโหวตเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง แต่ต้องหยุดการกระทำต้องห้าม ส่วนสมาชิกพรรคพลังประชาชนจะเลือกนายสมัครมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ แต่สถานการณ์ขณะนี้นายสมัคร ยังมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ เว้นแต่จะมีเหตุการณ์พิเศษอะไรเกิดขึ้น" นายสุขุมพงษ์ กล่าว
ขณะที่นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เคยมีการปรามาสว่านิสิต นักศึกษา ไม่สนใจปัญหาบ้านเมือง ดังนั้น ในวันที่ 9 กันยายน ซึ่งเป็นวันดีเดย์ จะได้เห็นนิสิต นักศึกษา 80 สถาบัน ออกมาแสดงพลัง ซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัย และอาจารย์ต้องสนับสนุนอย่างมีวิจารณญาณ โดยนิสิต นักศึกษา มีสิทธิหยุดเรียน และอาจารย์มีวิจารณญาณที่จะไม่นับเป็นวันขาดเรียน โดยถือเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นการเรียนรู้ปัญหาบ้านเมือง และสร้างจิตสำนึกให้รักบ้านเมือง ฉะนั้น การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. และตำรวจออกมาปรามนิสิต นักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหว โดยเอาระเบียบข้อบังคับมาห้ามนั้น ควรคิดใหม่ได้แล้ว
ที่ จ.ชุมพร นักเรียน นักศึกษา ประมาณ 300 คน จาก ร.ร.ศรียาภัย ร.ร.สอาดเผดิมวิทยา และวิทยาลัยเทคนิคชุมพร พร้อมประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมพร ร่วมชุมนุมหน้าวิทยาลัยเทคนิคชุมพร และหน้าโรงเรียนศรียาภัย นำโดย นายสุนทร รักษ์รงค์ ผู้ประสานงานพันธมิตร 14 จังหวัดภาคใต้ ร่วมขับไล่รัฐบาล และยังทำโลงศพจำลองเขียนชื่อนายสมัคร
นายสมบูรณ์ พรพิเนตรพงษ์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กล่าวว่า ให้อิสระในการทำกิจกรรมของนักศึกษาอย่างเต็มที่ หากจะหยุดเรียนสามารถทำได้ ในส่วนของอาจารย์และบุคลากรนั้นได้ร่วมกันล่ารายชื่อเพื่อให้รัฐบาลลาออก แก้ปัญหาของชาติ ขณะนี้มีผู้สนใจมาร่วมลงชื่อจำนวนมากแล้ว
ผศ.ดร.เศาวนิต เศาณานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่า ในฐานะผู้บริหารไม่มีนโยบาย หรือสนับสนุน หรือขัดขวางนักศึกษา รวมถึงอาจารย์ผู้สอนที่จะไปเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นสามารถไปร่วมได้ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล


วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หลังเกิดเหตุการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น หลายคนตั้งคำถามขึ้นในใจว่าเพราะอะไร ทำไมถึงมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ทำไมคนไทยถึงฆ่าคนไทยด้วยกันเอง และจะทำอย่างไรปัญหาต่างๆ ถึงจะจบลงอย่างสันติ ไม่มีการนองเลือดจนลามไปถึงสงครามกลางเมือง ดังนั้น วันนี้เรามีจึงหยิบเอาคติธรรมข้อคิดดีๆ จากพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี มาฝากคนไทยทุกคนค่ะ
(1) ขอให้รัฐบาลและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและคนไทยทั้งปวง จงทำใจให้กว้างโดยการตระหนักรู้ว่า การชุมนุมกันทางการเมืองก็ดี ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันก็ดี ถือว่า นี่เป็นปรากฏการณ์อันเป็นธรรมดาของบ้านเมืองที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
(2) ขอให้รัฐบาลและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นใหญ่ เป็นสำคัญ อย่าทำการใดก็ตาม เพียงเพื่อสนองผลประโยชน์ของตนเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงว่าประเทศชาติประชาชนจะเสียหายใหญ่หลวงเพียงไร
(3) ขอให้ทุกท่าน ทุกคน ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักธรรมสำคัญ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาโดยไม่เสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกันดังต่อไปนี้
3.1 ขอให้ยึดมั่นใน "ขันติธรรม" กล่าวคือ การอดทนอดกลั้นให้ถึงที่สุด อย่าลุแก่โทสะ คือ ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา หรือนำไปสู่การเผชิญหน้ากันโดยขาดความยั้งคิด
3.2 ขอให้ยึดมั่นใน "สันติธรรม" กล่าวคือ ใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหาทุกขั้นตอน โดยขอให้คิดอย่างสันติ (เช่น ไม่วางยุทธศาสตร์ให้ทหาร ตำรวจ ใช้อาวุธสงครามบุกเข้าทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์) พูดอย่างสันติ (เช่น ไม่กระตุ้นให้เกิดความเกลียดชัง หรือยั่วยุให้เกิดการใช้ความรุนแรง) และทำอย่างสันติ (เช่น ใช้การเจรจาเป็นทางออกสำหรับการแก้ปัญหา)
3.3 ขอให้ยึดมั่นใน "เมตตาธรรม" กล่าวคือ อย่าเผชิญหน้ากันโดยการตั้งธงแห่งอคติไว้ล่วงหน้าว่า ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับตนเป็น "ปรปักษ์" ที่จะต้องถูกกำจัด ถูกลงฑัณฑ์ให้หนักหนาสาหัส แต่ขอให้เผชิญหน้ากับคนที่อยู่ตรงข้ามกับตนในฐานะที่เขาก็เป็น "คนไทยเหมือนกันกับเรา" เขาแค่เห็นหรือปฏิบัติไม่ตรงกับเรา ไม่ได้หมายความว่าเขามี "ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์น้อยกว่าเรา"
3.4 ขอให้ยึดมั่นใน "นิติธรรม" กล่าวคือ เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ประเทศชาติประกอบด้วยคนที่ต่างคนต่างความคิด ต่างความเห็น ต่างความต้องการ หากทุกคน ทุกฝ่าย ต่างยึดเอา "ความต้องการ" ของตนเป็นที่ตั้ง ก็ไม่มีทางที่ประเทศชาติจะมีสันติสุขได้เลย ดังนั้น เราทุกคน ทุกฝ่าย จึงควรร่วมกันยกเอากฎหมาย ขึ้นเป็นใหญ่ เป็นสำคัญ เป็นบรรทัดฐาน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คนทุกคนที่ไม่ยอมให้แก่ใคร ในท้ายที่สุดก็ควรจะยอมให้แก่กฎหมาย เมื่อมาอยู่เบื้องหน้ากฎหมายแล้วขอให้เราเคารพกฎหมาย เพราะหากไม่เคารพกฎหมายเลย บ้านเมืองก็จะเข้าสู่สภาพอนารยะ ไม่มีขื่อไม่มีแป ไม่มีหลักประกันในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และจะก่อให้เกิดสภาพล้าหลังในทุกๆ ทางอย่างน่าเสียใจเป็นที่สุด
ขอให้เราคนไทยทุกภาคส่วน ร่วมกันตั้งกัลยาณจิต ภาวนาให้เราสามารถก้าวข้ามวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ร่วมกันอย่างสันติในเร็ววัน
วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551


นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า ยังไม่รับการติดต่อจาก ผบ.ทบ.และยังไม่รู้ว่าจะเจรจาอะไร เพราะปัญหาขณะนี้เลยเวลาที่จะเจรจาแล้ว เนื่องจากรัฐบาลพรรคพลังประชาชนไม่มีความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไป การชุมนุมของพันธมิตร จะยังคงมีการถ่ายทอดผ่าน เอเอสทีวี ต่อไป จะไม่ยอมให้ปิดสถานี และจะต่อต้านจนถึงที่สุด พร้อมย้ำเงื่อนไขในการเจราของพันธมิตรคือ นายสมัคร ต้องลาออก และพรรคพลังประชาชนต้องไม่เป็นรัฐบาล.
โดย โพสต์ทูเดย์
วัน อังคาร ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 00:00 น.
ที่มา:http://news.sanook.com/politic/politic_301789.php


วันนี้ (2 กันยายน) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเอกฉันท์ เสนอยุบพรรคพลังประชาชน ให้อัยการสูงสุดส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคพลังประชาชน
กรณีนี้สืบเนื่องจากการที่ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรค ถูกศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ.2551 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธ ตามคำร้องของ กกต. ที่ระบุว่า นายยงยุทธ เกี่ยวข้องกับการแจกจ่ายทรัพย์สินในการเลือกตั้งเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง)
ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/28399
วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

เกาะติดสถานการณ์ ยึดทำเนียบรัฐบาลภายใต้ยุทธการไทยคู่ฟ้า วันนี้ (1 กันยายน) วันที่ 7 แนวทางแก้ปัญหาของรัฐบาลสร้างบรรทัดฐาน ของสังคมได้อย่างไร ติดตามได้ที่นี่
15.50 น. หรั่ง ร็อคเคสตร้า นำผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ บวงสรวงพระพรหมในทำเนียบรัฐบาล ขอขมาและขอใช้สถานที่ หากผู้ชุมนุมทำอะไรล่วงเกิน
15.35 น. ศาลแพ่งยกคำร้องของสำนักนายกรัฐมนตรี ขอเพิกถอนคำสั่งทุเลาคดีกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล
13.55 น. เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ เตรียมเคลื่อนขบวนไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้นิสิตออกมาต่อต้านรัฐบาลที่ใช้ความรุนแรงกับประชาชน
13.45 น. ปลัดกทม. กำชับจัดสายตรวจดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน หลังเกิดเหตุลอบวางระเบิดขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา
13.28 น. "พิภพ" ยืนยันพันธมิตรฯ จะยังคงชุมนุมอย่างสงบอยู่ในที่ตั้ง ไม่เคลื่อนย้าย หลังนายกรัฐมนตรียืนกรานรักษาประชาธิปไตยไม่ฟังเสียงสมาชิกรัฐสภา
12.47 น. เวทีปราศรัยพันธมิตรฯ ยังคงดำเนินต่อไป แม้ฝนตกลงมาอย่างหนัก ทำให้ผู้ชุมนุมบางตากว่าทุกวัน
12.46 น. ประธานสภาอุตสาหกรรม ชี้นักลงทุนจับตาการเมืองระอุหวั่นกระทบความเชื่อมั่น แนะหาคนกลางไกล่เกลี่ยม็อบ-ปรับรัฐบาลช่วยการเมืองคลี่คลาย
12.42 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เชื่อพนังงานรัฐวิสาหกิจไม่หยุดงานสมทบพันธมิตรฯ เพิ่มอีก ด้านกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ระบุสหภาพสามารถลางานได้ภายใต้กฎหมาย
11.59 น. ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม ขู่นัดประชุมรัฐมนตรีฯ คมนาคมและผู้ว่ารฟท. 8 กันยายนนี้ ฟ้องค่าเสียหายและเลิกจ้างสหภาพฯ หากไม่กลับเข้าทำงานภายใน 3 วัน
11.54 น. กลุ่มนปก. จังหวัดกาฬสินธุ์ กว่า 1 พันคน ร่วมแสดงพลังสนับสนุนรัฐบาลนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ให้ทำงานต่อไป
11.41 น. ผบก.ยโสธร ส่งหน่วยปราบจราจล 150 นาย มายังกรุงเทพมหานคร เพื่อสมทบกำลังรับมือม็อบพันธมิตรฯ
11.33 น. แกนนำพันธมิตรฯ "สมศักดิ์ โกศัยสุข" เชื่อเหตุระเบิดเมื่อคืน ต้องการให้ประชนชนไม่กล้าเข้าร่วมกับพันธมิตรฯ ปล่อยข่าวรัฐบาลจัดม็อบชนม็อบ
11.31 น. เยาวชนกู้ชาติเรียกร้องรัฐบาลรับผิดชอบ ตำรวจทำร้ายม็อบพันธมิตรฯ พร้อมเผยเตรียมแผนดาวกระจาย ทำเช่นเดียวกับแกนนำชุดใหญ่ที่เคยทำ
11.25 น. สหภาพฯ ขสมก. ประชุมบ่ายนี้ หยุดงานร่วมพันธมิตรญ หรือไม่ ปัดบอกสถานที่ หวั่นสันติบาลเข้าตรวจสอบ
11.22 น. เลขาธิการพรรคพลังประชาชนชี้พันธมิตรฯ อยากได้การเมืองใหม่ ที่ขัดรัฐธรรมนูญ เชื่อไม่มีทางเลิกชุมนุม แม้รัฐบาลยุบสภาหรือลาออก
11.17 น. ประธานบอร์ด ร.ฟ.ท. ยอมรับบอร์ดเริ่มท้อแท้สถานการณ์ภายใน ขอเวลา 1-2 วัน ให้ความชัดเจน ลาออกยกชุด รับผิดชอบพนักงานหยุดให้บริการร่วมชุมนุมพันธมิตรฯ
11.09 น. เสมียนทนายความสำนักเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี ยื่นค้านการเพิกถอนคำสั่งศาลแพ่ง กรณีงดบังคับคดีต่อกลุ่มพันธมิตรฯ
11.07 น. แกนนำพันธมิตรฯ "พล.ต.จำลอง ศรีเมือง" ไม่เชื่อรัฐสภาแก้ไขปัญหาได้ ยืนยันต้องมีการเมืองใหม่เท่านั้น แจงไม่กลัวการลงเลือกตั้ง
10.41 น. มท.1 พร้อมผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมกับตำรวจนครบาลวางแผนรับมือม็อบ หลังมีข่าวพันธมิตรฯ และ นปก.อาจมีการปะทะกัน
10.37 น. กลุ่มคนรักทักษิณจัดตั้งกลุ่มรถตุ๊กตุ๊กและสี่ล้อแดง เฝ้าจับตากลุ่มพันธมิตรฯ ป้องกันการยกพลป่วนปิดสถานที่ราชการและสนามบิน พร้อมเตรียมวางพวงรีดสหภาพรัฐวิสหกิจ กรณีหยุดงานประท้วงรัฐบาล
10.32 น. หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ร้องสมาชิกรัฐสภาพร้อมใจลาออก เพื่อกดดันให้รัฐบาลพิจารณาตัวเอง เชื่อแก้วิกฤตชาติที่กำลังนำไปสู่ความรุนแรงได้
10.29 น. นักศึกษา มอ.หาดใหญ่ เปิดเวทีแสดงความเห็นแบบอิสระ ถึงวิกฤตการเมืองไทยในขณะนี้ เพื่อดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหา
10.27 น. สถานีรถไฟหลายจุดในจังหวัดนครสวรรค์เงียบเหงา ไร้คนใช้บริการและเจ้าหน้าที่ของการรถไฟที่ปฏิบัติงาน
09.50 น. พันธมิตรฯ นครสวรรค์ สวมเสื้อเหลืองเคลื่อนพลสมทบการชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลต่อเนื่อง
09.26 น. พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าบัญชาการที่นครบาลแล้ว ลั่นจะรีบจัดการเหตุระเบิดป้อมตำรวจจราจรก่อน พร้อมปรามม็อบพันธมิตรฯ อย่าริตัดไฟ ตัดน้ำ เพราะชาวบ้านเดือดร้อน
09.12 น. ผู้ช่วยนายสถานีรถไฟเชียงใหม่ เผยประชาชนทยอยคืนตั๋วรถไฟเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง ขณะพนักงานยอมเปิดเที่ยวขาขึ้นจากกรุงเทพฯ เพียง 1 ขบวน และขาล่อง 2 ขบวน
09.09 น. ชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นไปอย่างเงียบเหงา หลังรถไฟสายใต้กว่า 40 ขบวน ยังคงหยุดวิ่งเป็นวันที่ 4 ขณะสนามบินหาดใหญ่วางมาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูงสุด
09.05 น. สามโรงเรียนย่านสะพานมัฆวานเปิดการเรียนการสอนแล้ววันนี้ หลังเหตุการณ์รุนแรงลดดีกรีลง
08.31. รองผบช.น.ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณโรงเรียนโดยรอบการชุมนุม เป็นห่วงจราจรแยกยมราชและนางเลิ้ง พร้อมประสาน แกนนำพันธมิตรฯ เปิดพื้นที่จราจร
08.51 น. พันธมิตรฯปักหลักชุมนุมที่ทำเนียบฯโดยติดตามข่าวสารการอภิปรายวานนี้ ขณะประชาชนบางส่วนทยอยเดินทางกลับบ้าน
08.31. รองผบช.น.ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณโรงเรียนโดยรอบการชุมนุม เป็นห่วงจราจรแยกยมราชและนางเลิ้ง พร้อมประสาน แกนนำพันธมิตรฯ เปิดพื้นที่จราจร
08.20 น. "ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์" ฉายเดี่ยวสมัครชิงผู้ว่ากรุงเทพมหานครแบบไร้กองเชียร์ ชี้ไม่เหมาะสมกับช่วงสถานการณ์บ้านเมืองไม่สงบ ชูนโยบายรณรงค์คนไทยรักกัน อัดเปิด 2 สภาแก้วิกฤตแค่ละครเรียกคะแนน
08.10 น. ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคพลังประชาชน "สนอง เทพอักษรณรงค์ " ขู่ยกพลบุกกรุงเทพฯ หากม็อบพันธมิตร ยังทำบ้านเมืองวุ่นวาย
07.47 น. จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร. เชื่อเหตุระเบิดป้อมยาม ไม่เกินความสามารถตำรวจท้องที่ โบ้ยไม่ตอบรับตำแหน่งดูแล บช.น.ขอรอคำสั่งอย่างเป็นทางการก่อน
06.39 น. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรฯ เชื่อเหตุระเบิดป้อมตำรวจที่แยกประชาเกษมเมื่อคืนที่ผ่านมา เป็นการสร้างสถานการณ์โดยผู้ไม่หวังดี และต้องการโยนบาปให้กับกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ยืนยันยังคงปักหลักชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลต่อไป
06.13 น. นายกฯ ยังคงพักผ่อน ในบ้านพัก ซ.นวมินทร์81 หลังประชุม 2 สภา เมื่อคืนที่ผ่านมานานถึง 11 ชั่วโมง
05.34 น. พันธมิตรฯ ชุมนุมครบ100 วัน ในวันนี้ โดยช่วงเช้าได้ออกทำกิจกรรมต่างๆกันมากมาย
04.12 น. รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล1 ระบุหลังตรวจสอบเหตุระเบิดป้อมตำรวจแยกประชาเกษม เป็นการสร้างสถานการณ์ ไม่ประสงค์ต่อชีวิต โดยอีก 1 สัปดาห์รู้ว่าเป็นระเบิดชนิดใด
03.44 น. กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯที่ทำเนียบรัฐบาล เริ่มนอนหลับพักผ่อนกันเป็นจำนวนมาก ขณะที่บนเวทียังคงมีการร้องเพลงเพื่อชีวิตกันอย่างสนุกสนาน
อธิการนิด้า ชี้ประชุม 2 สภา ล้มเหลวสิ้นเชิง

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
นายกฯบอกขอใช้เวที2สภาฯ ถกทางออกวิกฤติการเมือง
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวในรายการ"สนทนาประสาสมัคร"ว่า ในช่วงบ่ายโมงครึ่งวันนี้ตนจะไปฟังและจะชี้แจงในสภา และขอบคุณนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมา
"การประชุมรัฐสภาจะเป็นเวทีที่พูดจาได้ชัดเจน แสดงความเห็น ใครเข้าข้างใครยังไง ได้เลย แปลว่าบ้านเมืองนี้ฝ่ายนั้นมีโอกาสชนะใช่ไหม ทำไมคนเป็นนักการเมืองไม่มีความคิด ที่เจ็บช้ำคือบรรดาสหภาพแรงงาน รถไฟ ขสมก. การบินไทย มันอะไรนักหนา จะทำลายบ้านเมืองด้วยวิธีนี้"
นอกจากนี้ นายสมัครยังได้ชี้แจงเหตุปะทะกันที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล และมีภาพข่าวโดยระบุว่า ตำรวจใช้แก๊สน้ำตากับกลุ่มผู้ชุมนุมว่า ตำรวจได้ยืนยันแล้วไม่ได้เป็คนลงมือ ไอ้บ้าที่ไหนไม่รู้ หรืออาจเป็นมือที่สาม ได้ตั้งชุดตรวจสอบดูว่าเป็นใคร แล้วสื่อมวลชนเสนอข่าวนี้ วิจารณญาณอยู่ที่ไหน ยังสอบสวนอยู่แต่ข่าวออกไปทั่วโลกแล้ว ขณะที่บ้านเมืองได้รับการโหวตว่าเป็นเมืองที่น่าเที่ยวที่สุดในโลก ตนทำหน้าที่ของตัวเองตรงนี้ แต่คนกลุ่มหนึ่งคอยจ้องหาเหตุ ซึ่งตนเองไม่ได้กลัวแต่เกรงว่าบ้านเมืองเสียหาย
โดย คม ชัด ลึก
วัน อาทิตย์ ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 11:17 น.
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สมัคร เลิกสลายม็อบทำเนียบหวั่นบานปลาย
นายสมัคร สุนทรเวช
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ยืนยันว่าจะไม่มีการสลายการชุมนุม แม้จะถือว่าคำสั่งศาลแพ่งที่ให้พันธมิตรฯออกจากทำเนียบฯจะเป็นการให้ดาบมาถือไว้ ครั้งแรกคิดว่าจะเคลียร์พื้นที่
"แต่เมื่อไตร่ตรองแล้วเห็นว่าจะเกิดอันตรายได้ เพราะม็อบมีการสร้างแนวป้องกัน จึงจะให้แกนนำที่ถูกออกหมายจับมารายงานตัว จะไม่มีการสลายการชุมนุมเพื่อไม่ให้เกิดการสปาร์กอะไรขึ้นมา"
ถามว่ารัฐบาลจะเสียความชอบธรรมหรือไม่ เพราะไม่สามารถเข้าไปบริหารงานในทำเนียบฯได้ นายสมัคร กล่าวว่า ไม่มีปัญหา เพราะได้บ้างเสียบ้าง รัฐบาลไม่ได้เสียสถานะทางการเมือง ส่วนการจัดงาน 116 วันจากวันแม่ถึงวันพ่อที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 สค.ก็จะย้ายไปจัดที่สวนอัมพรฯแทน และเมื่อถามต่อว่า คิดถึงทำเนียบฯหรือไม่ นายสมัคร ก็ได้ถามกลับว่า ทำไมถามอย่างนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฯไม่มีท่าทีที่เคร่งเครียด แต่กลับตอบคำถามผู้สื่อข่าวอย่างใจเย็น
ทั้งนี้มีรายงานข่าวจากแหล่งข่าวใกล้ชิดนายกฯ ระบุว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาของนายกฯในเรื่อง กลุ่มพันธมิตรฯยึดทำเนียบฯจะใช้แนวทางตามกระบวนการยุติธรรม เช่น การฟ้องร้องต่อศาล เป็นต้น แต่จะยังไม่มีการใช้ความรุนแรงใดๆ
โดย กรุงเทพธุรกิจ
วัน พฤหัสบดี ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 11:45 น
วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ศาลสั่งพธม.ออกจากทำเนียบ จำลองระบุห้าทุ่มตร.เข้าสลาย


เราเป็นประเทศประชาธิปไตย
วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ตำรวจขีดเส้นตาย ม็อบ ถอนตัว ภายใน 18.00 น.

อ่านข่าวต่อได้ที่ http://news.sanook.com/politic/politic_299984.php
วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ทักษิณ ลาออกจากบอร์ด อ้างทำแมนซิตี้เสื่อม

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551
อดีตนายกฯ ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกหลังจากเกิดรัฐประหารในประเทศไทย
บทสัมภาษณ์ต่อไปนี้ เป็นข้อความที่ผู้สื่อข่าว 'แดน ริเวอร์ส'
จากซีเอ็นเอ็น (ประเทศสิงคโปร์)
สัมภาษณ์อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
โดยคำถามแรกคือ เรื่องข้อกล่าวหาว่าทักษิณมีส่วนเกี่ยวพัน
กับการก่อเหตุระเบิดในคืนส่งท้ายปีใหม่ในกรุงเทพ
ขอบคุณคลิปวิดิโอ : http://www.youtube.com/watch?v=K3nVdqgqXbA
โพลเชื่อทักษิณมีความผิด จึงหนีคดีไปต่างประเทศ

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (17 ส.ค.) ว่า สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ จำนวน 2,312 คน เกี่ยวกับความรู้สึกของคนไทย กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ลี้ภัยไปประเทศอังกฤษ ผลปรากฏว่า ร้อยละ 34.55 เห็นว่า การหนีไปอยู่ต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า มีความผิดจริง ร้อยละ 21.58 เห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการลี้ภัย เพราะถือเป็นการหนีปัญหา และร้อยละ 20.67 เห็นว่า ควรดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจังและให้ความเป็นธรรมกับทุกคนส่วนสิ่งที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลดำเนินการมากที่สุดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวนั้น ร้อยละ 38.94 เห็นว่า ให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการอย่างอิสระ และไม่มีการควบคุมจากรัฐบาล ร้อยละ 29.44 เห็นว่า ให้ทุกอย่างควรดำเนินการตามกฎหมายอย่างถูกต้อง และร้อยละ 18.01 เห็นว่า รัฐบาลควรเจรจากับรัฐบาลอังกฤษให้ส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาประเทศไทย
(โดย ไทยรัฐ วัน อาทิตย์ ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551 14:40 น)
ขอบคุณข่าวและภาพประกอบ : http://news.sanook.com/politic/politic_297635.php
วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ล้อเลียนการเมือง
1. ขายประเทศ โกงภาษี หลบเลี่ยงกฎหมาย กรณีการขายกลุ่มบริษัทชิน
การขายบริษัทชินคอร์ปซึ่งครอบครองดาวเทียมจำนวน 4 ดวง สถานีโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และบริษัทสายการบินต้นทุนต่ำ มูลค่า 73,000 ล้านบาท แก่กองทุนเทมาเส็กซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยรัฐบาลสิงคโปร์ เป็นการขายกิจการสัมปทานของชาติที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลลุแก่อำนาจโดยแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการขายหุ้นให้ต่างชาติได้เกิน 25% เพียงวันเดียวก่อนทำการขาย เห็นดีเห็นงามกับการตั้งบริษัทบังหน้า เพื่อให้ต่างชาติถือครองหุ้นส่วนใหญ่โดยผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย อีกทั้งหาช่องโหว่ไม่ต้องเสียภาษีการซื้อขายแม้แต่สักบาทเดียว ผู้นำประเทศกลายเป็นแบบอย่างให้เกิดพฤติกรรมโกงภาษี และเปิดช่องให้ต่างชาติเข้ามายึดครองกิจการสำคัญๆของประเทศ
2. เอาชีวิตของเกษตรกร การเข้าถึงยาและได้รับการรักษาของคนไทยทุกคน แลกกับผลประโยชน์ของบริษัทครอบครัวและกลุ่มธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลกรณีการทำเอฟทีเอ
การลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับจีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ สร้างผลกระทบต่อเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้เมืองหนาว และเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อโคนมรวมกันกว่า 5 ล้านคน การเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐจะส่งผลกระทบรุนแรงกว่านั้นหลายเท่า เพราะต้องเปิดเสรีการลงทุน กิจการขนาดเล็กของคนไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ พันธุ์พืชถูกจดสิทธิบัตร ทรัพยากรธรรมชาติถูกครอบครอง ระบบหลักประกันสุขภาพทุกระบบได้รับผลกระทบ และประชาชนไทยต้องซื้อยาในราคาแพง นักลงทุนต่างชาติได้สิทธิฟ้องร้องรัฐ ยอมรับกลไกอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแทนการขึ้นศาลไทย แลกกับผลประโยชน์ของกลุ่มกิจการโทรคมนาคมของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลุ่มบริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งล้วนแล้วแต่ใกล้ชิดกับรัฐบาล ทั้งนี้ไม่นับการแก้ไขกฎหมายภายในหลายฉบับเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ
3. การแทรกแซงองค์กรอิสระ และการทำลายกลไกการตรวจสอบ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ใช้อำนาจทางการเมืองและอำนาจเงินครอบงำวุฒิสภา แทรกแซงกระบวนการสรรหา การได้มา และการทำงานขององค์กรอิสระต่างๆ เช่น คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กลไกและกระบวนการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญถูกทำลายลงแทบหมดสิ้น แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่อาจเป็นที่พึ่งได้ ดังที่ได้ปฏิเสธที่จะพิจารณากรณีการซุกหุ้นภาค 2 ของนายกรัฐมนตรี จากการเสนอของสมาชิกวุฒิสภา 27 คนเมื่อเร็วๆนี้ การขาดกลไกการตรวจสอบทำให้อำนาจการบริหารอยู่ในมือของผู้นำอย่างเบ็ดเสร็จ เกิดการคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร และเปิดทางให้ตระกูลชินวัตรและบริวารสืบทอดอำนาจในการบริหารประเทศเยี่ยงทรราช
4. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อประโยชน์พวกพ้อง และบริษัทต่างชาติ
เมื่อมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยการเปิดขายหุ้นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.)นั้น หุ้นทั้งหมดถูกขายเกลี้ยงในเวลาเพียง 1 นาที 17 วินาที หุ้นส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของนักการเมืองพรรคไทยรักไทยและเครือญาติ มีการใช้อำนาจรัฐขยายสัดส่วนการถือหุ้นของเอกชนจาก 25 % เป็น 49% และกำหนดอัตราราคาแกสที่ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตในราคาที่สูง ดันให้ผลกำไรของปตท.ในปี 2548 สูงถึงกว่า 80,000 ล้านบาท ผลประโยชน์ดังกล่าวถูกแจกจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นและบริษัทต่างชาติ รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ยังเดินหน้าแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โดยการขายเลหลังราคาถูกในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ประเทศชาติเสียหายมากกว่า 3.3 ล้านล้านบาท อีกทั้งยังคงกุมการผูกขาดและไม่มีกลไกการกำกับดูแลคุ้มครองผู้บริโภค ประชาชนต้องเสียค่าไฟฟ้าในราคาแพงเพียงเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มทุนในรัฐบาลและบริษัทต่างชาติในสิงคโปร์ ทั้งนี้ไม่นับแผนการแปรรูปองค์การเภสัชกรรม องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เป็นต้น
5. การยึดครองและควบคุมสื่อ กรณีไอทีวี มติชน และคุกคามการทำงานของสื่อมวลชน นักกิจกรรมทางสังคม
บริษัทของครอบครัวนายกรัฐมนตรีได้เข้าซื้อกิจการของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีซึ่งเป็นดอกผลการต่อสู้ของประชาชนในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ใช้อำนาจรัฐลดภาษีสัมปทาน เปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้เพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิง กลุ่มธุรกิจที่ใกล้ชิดยังได้พยายามเข้าไปยึดครองกิจการของหนังสือพิมพ์มติชน และเข้าไปถือครองในกิจการสื่อต่างๆ มีการใช้งบประมาณของรัฐและงบประชาสัมพันธ์ของธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเพื่อควบคุมสื่อมวลชน สื่อมวลชนและนักกิจกรรมที่หาญกล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายนับพันล้านบาท เสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนไทยภายใต้ระบอบทักษิณตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา
6. การละเมิดสิทธิมนุษยชน การหายตัวไปของทนายสมชาย และความรุนแรงของปัญหาสามจังหวัดภาคใต้
7. การตั้งรัฐอิสระ เปิดเสรีโดยลดทอนกฎหมายภายใน และทำลายการปกครองของท้องถิ่น
กรณีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษพร้อมๆกับการทำเอฟทีเอและแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเร่งรีบ รัฐบาลชุดนี้ยังได้ผลักดันร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้อำนาจฝ่ายบริหารในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น ให้อำนาจนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนในประเทศอย่างไร้ขอบเขต ทั้งด้านอุตสาหกรรม บริการ หรือแม้แต่กิจการบ่อนกาสิโน เพิกถอนสภาพที่สาธารณสมบัติเช่น เขตธรณีสงฆ์ ป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ รวบอำนาจการบริหารจากองค์กรท้องถิ่น เสมือนการจัดตั้งรัฐอิสระที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายใดๆของประเทศไทย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดในเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว
8. ความล้มเหลวของการปฎิรูปการศึกษา ปัญหาการโอนย้ายการศึกษาไปสู่องค์กรส่วนท้องถิ่น
การปฏิรูปการศึกษาไม่มีความคืบหน้าใดๆ มาตรฐานการศึกษาในทุกระดับตกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การเปิดเสรีการศึกษาจะทำให้การศึกษากลายเป็นการค้า เป็นการทำลายเป้าหมายของการศึกษาและกีดกั้นประชาชนยากจนออกไปจากระบบการศึกษาในท้ายที่สุด ปัญหาการโอนย้ายการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือเครื่องชี้ความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษา โดยการใช้อำนาจรัฐมากกว่ากระบวนการมีส่วนร่วม และสะท้อนให้เห็นว่ามิได้มีการสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นทั้งต่อสถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอด 5 ปีที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ในอำนาจ
9. ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ช่องว่างคนรวยคนจน ความเป็นจริงและผลกระทบการแจกจ่ายเงินไปสู่ชนบท
เป้าหมายของรัฐบาลคือการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของตลาดหุ้นโดยไม่ได้ดำเนินการใดๆ ที่เป็นการลดช่องว่างความแตกต่างระหว่างคนร่ำรวยกับคนยากจน หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 103,940 บาท/ครัวเรือน (พ.ศ. 2547) สถิติผู้บริโภคที่เป็นหนี้บัตรเครดิตถือจำนวนบัตรเครดิตสูงสุดเพิ่มขึ้นจาก 16 ใบเป็น 30 ใบ เงินที่รัฐบาลแจกจ่ายเงินไปให้ชนบทในรูปกองทุนหมู่บ้านเป็นการนำเงินที่ควรจะเป็นของท้องถิ่นกลับไปให้ท้องถิ่นแค่เพียงเศษเงิน งานวิจัยพบว่ามีการนำเงินจากกองทุนหมู่บ้านไปซื้อโทรศัพท์มือถือ 400 เครื่องต่อหนึ่งหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เป็นเงินถึง 480,0000 บาท/ปี(ไม่นับค่าซื้อเครื่อง) ต้องเอาเงินนอกระบบมาใช้หนี้กองทุน เอาเงินกองทุนไปใช้หนี้นอกระบบ กลายเป็นวงจรอุบาทว์ของหนี้อมตะ ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยคนจนเพิ่มมากขึ้นทุกทีจนอยู่ในระดับเดียวกันกับเม็กซิโก โคลัมเบีย และอาร์เจนตินา ปัญหาทั้งหมดรอวันปะทุเป็นความขัดแย้งที่รุนแรง
10.ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาโครงสร้างการจัดการทรัพยากร กรณี พ.ร.บ.ป่าชุมชน และการปฏิรูปที่ดินเพื่อคนยากจน
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิได้ดำเนินการใดๆที่เป็นการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ข้อเรียกร้องของประชาชนในการปฏิรูปการจัดการทรัพยากร เช่น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน การบริหารน้ำโดยท้องถิ่น และการผลักดันให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจนถูกขัดขวางโดยรัฐบาล ในทางตรงข้ามรัฐบาลยังได้สนับสนุนส่งเสริมให้มีการลงทุนที่ทำลายวิถีชีวิตของชุมชน เช่น โครงการเหมืองแร่โปแตซ โครงการท่อส่งก๊าซโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ผู้นำชาวบ้านที่ต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรในท้องถิ่นถูกฆ่ามากกว่า 20 คน รวมทั้งพระสงฆ์นักอนุรักษ์
การหยุดยั้งระบอบทักษิณ เป็นก้าวสำคัญในการสร้างประชาธิปไตย
ที่ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
และการจัดสรรทรัพยาการอย่างเท่าเทียม
เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน !!
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 3 มีนาคม 2549
โทรศัพท์